2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์
75 จะกระทำมิได้และมาตรา 29 บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ใน เวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้ ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยให้ กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนีในคดีอาญาจะบังคับให้บุคคลให้การเป็น ปฏิปักษ์ต่อตนเองมิได้ คำขอประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาต้องได้รับการพิจารณาและจะ เรียกหลักประกันจนเกินควรแก่กรณีมิได้ การไม่ให้ประกันต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ จากการศึกษาถึงกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการติดตามผู้กระทำความผิดหลังพ้น โทษ ไม่ว่าจะเป็นอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 อนุสัญญาว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ ต่อจิตและประสาท ค.ศ. 1971และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพ ติดและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทนั้นเป็นการร่วมมือให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน ในการป้องกัน ปราบปรามการค้ายาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศ โดยมีการสนับสนุนจาก ประเทศภาคีเพื่อเป็นการป้องกันสังคมให้ห่างไกลจากยาเสพติดและสุขภาพของประชาชน ซึ่งการเข้า ร่วมภาคีระหว่างประเทศนั้นถือว่าเป็นเครื่องมือที่มีค่าสำหรับประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วม ในการบรรลุ เป้าหมายทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและเป็นการป้องกันมิให้เกิดการกระทำความผิดซ้ำขึ้นในคดี ยาเสพติดในประเทศ ในเรื่องของระบบการติดตามผู้พ้นโทษในคดียาเสพติดก็จำเป็นต้องนำกฎหมายต่างประเทศที่ ผู้วิจัยนำมาวิเคราะห์ประกอบด้วย 3 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐออสเตรียและ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ในการแก้ไขฟื้นฟูของบุคคลที่เคยกระทำความผิดในส่วนสหราชอาณาจักรพบว่า สหราชอาณาจักรมีการตราพระราชบัญญัติฟื้นฟูผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2517 หรือ เรียกว่า “The Rehabilitation of Offender Act 1974” มีไว้เพื่อสนับสนุนการแก้ไขฟื้นฟูของผู้กระทำผิดเป็นการ เฉพาะ พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้กระทำผิดให้สิทธิแก่บุคคลที่ถูกพิพากษาลงโทษและ ตักเตือนที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลเหล่านี้เมื่อสมัครงานส่วนใหญ่และซื้อประกัน ยกเว้นผู้ที่ได้รับโทษจำคุก มากกว่า 4 ปีแล้วจะต้องเปิดเผยข้อมูลการต้องโทษต่อนายจ้างหรือหน่วยงานไปจนตลอดชีวิต แต่หาก บุคคลนั้นถูกจำคุกไม่เกิน 4 ปีก็จะถูกมาตรการถูกมาตรการ “เปิดเผยข้อมูลการต้องโทษในการสมัคร งาน” ตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เช่น ผู้ที่ถูกจำคุกตั้งแต่ 2 ปีครึ่ง แต่ไม่เกิน 4 ปี เมื่อจะ ทำการสมัครงานหลังพ้นโทษ จะต้องเปิดเผย ข้อมูลการต้องโทษต่อนายจ้างหรือหน่วยงานใน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3