2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

77 ประวัติการได้รับโทษให้กับสถานที่ทำงานเพื่อได้ตระหนักถึงการมีอาชีพที่ต้องใช้ในการดำเนินชีวิตใน ภายหลังจากได้รับการปล่อยตัวออกมาว่าไม่ควรก่อให้เกิดความผิดซ้ำอีกและอาจจะเป็นที่มีระบบเข้า มาควบคุมบังคับ การแยกที่พักอาศัย การกำหนดระยะเวลาในการใช้ชีวิตหรือใช้การตรวจสอบทาง อิเล็กทรอนิกส์เข้ามาช่วยเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการก่ออาชญากรรมให้กับสังคมอีกด้วย ดังนั้น หากนำมาปรับใช้กับประเทศไทยย่อมถือว่าเป็นผลดีในเรื่องของการแก้ไขฟื้นฟูผู้พ้นโทษหลังจากได้รับ การปล่อยตัวออกมาจากเรือนจำ เพื่อให้ได้ทราบถึงบริเวณที่อยู่อาศัย การประกอบอาชีพของผู้พ้น โทษส่งผลให้มีความสะดวกให้กับหน่วยงานที่ต้องเข้าไปสอดส่องดูแลผู้พ้นโทษในกลุ่มของคดียาเสพติด จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานราชทัณฑ์ (ศูนย์แคร์) ในด้านของการติตตามผู้พ้น โทษในคดียาเสพติด พบว่าการติดตามต้องอยู่ภายใต้ความยินยอมของผู้ต้องขังก่อนปล่อยตัว มีจำนวน น้อย เพราะการรับบริการในการติดตามของทางศูนย์นั้น ต้องให้ผู้พ้นโทษกรอกข้อมูลและขอความ ยินยอมก่อนจะเข้าระบบของทางศูนย์ในการติดตามดูแล ส่วนใหญ่ผู้พ้นโทษ เมื่อได้รับการปล่อยตัว ไปแล้ว ต้องการความเป็นอิสระ ไม่ประสงค์ให้ทางหน่วยงานติดตาม และอาจจะสร้างความ หว าดระแวงกับคน ในชุมชน ห าก เห็น ว่ามี เจ้าหน้ าที่คอยสอดส่องบุคคลนั้น เป็นพิ เศษ และเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ไม่มีอำนาจในการบังคับให้ผู้ต้องขังที่จะได้รับการปล่อยตัวลงทะเบียนเพื่อเข้า ใช้บริการกับทางศูนย์เอง เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายรองรับโดยเฉพาะ ในส่วนของกลุ่มนักกฎหมายมอง ว่าเรื่องการติดตามผู้พ้นโทษในคดียาเสพติดนั้น ทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับตัวผู้พ้นโทษเอง เมื่อจำเป็นต้อง ขอความยินยอมกับผู้พ้นโทษ จึงไม่มีสภาพบังคับทางกฎหมายได้ เพราะเมื่อพ้นโทษแล้ว ผู้พ้นโทษก็ กลายเป็นแค่บุคคลธรรมดาคนหนึ่งมีสิทธิและเสรีภาพ หากจะใช้วิธีการติดตามตัวหลังจากพ้นโทษ ผู้ให้ข้อมูลเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้จริง จากการวิเคราะห์เอกสารและผลสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับประเด็นปัญหาของระบบการ ติดตามผู้พ้นโทษในคดียาเสพ ผู้วิจัยเห็นว่ากฎหมายในการแก้ไขฟื้นฟูผู้พ้นโทษในคดียาเสพติดตาม ประมวลกฎหมายยาเสพติดนั้นยังไม่มีความครอบคลุมถึงการติดตาม สอดส่องผู้ที่กระทำความผิดฐาน จำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย ผลิต นำเข้าและอื่นๆ เฉพาะบุคคลที่มีพฤติการณ์อันอาจจะส่งผล ต่อความปลอดภัยให้กับสังคม เนื่องจากบุคคลในฐานความผิดเหล่านี้ล้วนเป็นต้นต่อของปัญหายาเสพ ติดที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งควรจะได้รับการแก้ไขตั้งแต่จุดเริ่มต้นของปัญหาเพื่อให้ยาเสพติดนั้นได้ มีจำนวนที่ลดลงและหมดไปจากสังคมไทย โดยปัญหาของระบบการติดตามผู้พ้นโทษในคดียาเสพได้ เล็งเห็นว่าต้องนำเอาแนวความคิดของหลักสิทธิมนุษยชนเข้ามาประกอบร่วมด้วยเนื่องจากจำเป็นต้อง มีการเข้าไปติดตาม สอดส่องผู้พ้นโทษเพียงบางกลุ่มเท่านั้นซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่ เป็นอิสระในการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3