2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

79 4.3 อุปสรรคของหน่วยงานที่เข้ามามีบทบาทในการติดตามผู้พ้นโทษในคดียาเสพติด เมื่อมีการกระทำความผิดบุคคลต้องได้รับโทษตามกฎหมาย และบทลงโทษตามกฎหมายไทย มี 5 สถาน ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน โดยเฉพาะโทษประหารชีวิตและจำคุก ทางกรมราชทัณฑ์เป็นผู้รับผิดชอบหลักโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สังคมปลอดภัย ผู้ที่กระทำความผิดจะได้ สำนึกผิดเข็ดหลาบและไม่กระทำความผิดซ้ำอีกภายหลังและเป็นการทดแทนหรือชดเชยต่อผู้เสียหายเพื่อ ป้องกันการแก้แค้นในขณะเดียวกันก็เป็นการปรามมิให้ผู้อื่นกระทำผิดตาม เพื่อให้เกิดความเกรงกลัวต่อโทษ และเมื่อหลังจากที่ได้รับโทษแล้วบุคคลย่อมได้รับอิสระโดยการปล่อยตัวพ้นโทษ โดยไม่ว่าจะเป็นกรณี การพ้นโทษโดยครบกำหนดโทษตามคำพิพากษาหรือการพ้นโทษโดยการได้รับพักโทษก็ตาม ย่อมถือ ว่าได้รับการลงโทษตามกฎหมายสิ้นสุดลงแล้วแต่เมื่อได้รับการปล่อยตัวออกมาแล้วก็ยังมีกลุ่มคนบาง กลุ่มที่ยังไม่รู้สึกสำนึกเข็ดหลาบต่อมาภายหลังก่อให้เกิดการกระทำความผิดซ้ำขึ้น จากข้อมูลของกรม ราชทัณฑ์ในคดียาเสพติดนั้นมีสถิติของการกระทำผิดซ้ำเป็นอันดับหนึ่ง และเมื่อมีการกระทำความผิด ซ้ำเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ รัฐจึงจำเป็นต้องคิดหาแนวทางให้การแก้ไขป้องกันเพื่มมิให้มีการกระทำความผิด ซ้ำเกิดขึ้นอีก การพ้นโทษในกรณีของการได้รับพักการลงโทษนั้น ยังพอที่จะป้องกันมิให้เกิดการกระทำ ความผิดซ้ำขึ้นได้เนื่องจากการพักการลงโทษนั้นจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานกรมคุม ประพฤติและมีเงื่อนไขให้ต้องปฏิบัติตามอยู่ซึ่งต่างกับการพ้นโทษในกรณีของครบกำหนดโทษจำคุก ตามคำพิพากษาและการได้รับพระราชทานอภัยโทษที่ไม่มีหน่วยงานที่มีอำนาจเข้ามาติดตาม สอดส่อง หรือมีเงื่อนไขอื่นๆให้ต้องปฏิบัติตาม มีเพียงการติดตามที่ยึดรูปแบบของการสงเคราะห์ ซึ่งหลังจากที่ ผู้พ้นโทษได้รับการปล่อยตัวนั้นจะได้รับการติดตาม ดูแล ช่วยเหลือ และสงเคราะห์เป็นระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่ปล่อยพ้นโทษ โดยจะมีพนักงานคุมประพฤติ อาสาสมัครคุมประพฤติ เครือข่ายยุติธรรม ชุมชน หรือภาคีเครือข่าย ออกไปเยี่ยมเยียน ที่บ้านพักอาศัย เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ต้องขัง หลังได้รับการปล่อยตัวจากสถานที่ควบคุมความประพฤติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ต้องขัง สามารถกลับมามีชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยจะขึ้นอยู่กับความต้องการและความเหมาะสมของ แต่ละบุคคล ถึงแม้ในปัจจุบันทาง กรมราชทัณฑ์ ได้มีนโยบายให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและ ส่งเสริมการมีงานทำ (CARE : Center for Assistance to Reintegration and Employment) โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานและช่วยเหลือผู้ พ้นโทษให้มีงานทำทั้งขณะต้องโทษใน เรือนจำ และการนำความรู้จากการอบรมวิชาชีพไปประกอบอาชีพภายหลังพ้นโทษรวมทั้งเป็นศูนย์ ประสานงานช่วยเหลือผู้พ้นโทษในด้านต่างๆ และไม่กลับมากระทำผิดซ้ำแล้ว แต่ทั้งนี้ก็ยังต้องขึ้นอยู่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3