2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

80 กับการคัดกรองข้อมูลของผู้รับบริการ (ผู้ต้องขังก่อนพ้นโทษ) ว่าจะยินยอมขอรับความช่วยเหลือจาก ศูนย์ดังล่าวด้วยหรือไม่ หากยินยอมทางศูนย์ก็จะนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ CARE Support และประสาน หน่วยงานภายในผ่านช่องทางออนไลน์ การติดตามผลดูแลทางโทรศัพท์และการลงพื้นที่เข้าไปเยี่ยม บ้านผู้พ้นโทษต่อไป แต่หากไม่ขอรับความช่วยเหลือจากศูนย์จะมีการคัดกรองและตรวจสอบแผนการ ดำเนินชีวิตภายหลังพ้นโทษและให้ข้อมูลทางการติดต่อไว้ภายหลั งและจากหนังสือรายงานของทาง กรมราชทัณฑ์ ที่ ยธ ๐๗๐๘๔/๓๕๗๔๑ เกี่ยวกับผลการดำเนินงานเกี่ยวกับงานสังคมสังเคราะห์ที่การ รายงานผลการติดตาม ดูแล และช่วยเหลือผู้พันโทษ ปัจจุบันกรมราชทัณฑ์ใช้แบบรายงานการติดตาม ผู้พันโทษ ผ่านระบU CARE Support กรมราชทัณฑ์ ในการติดตามผู้พ้นโทษ จึงขอยกเลิกแบบ ติดตามผลการดำเนินชีวิตสมาชิกเครือข่ายสังคมสงเคราะห์ และแบบสรุปผลการดำเนินชีวิตของ สมาชิกเครือข่ายสังคมสงเคราะห์การรายงานผลการดำเนินงานเครือข่ายสังคมสงเคราะห์ในงาน ราชทัณฑ์ เป็นการรายงานผลการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายภาคสังคม ซึ่งมีรายละเอียด ในแบบรายงานมากเกินกว่าข้อมูลที่กรมราชทัณฑ์ต้องจัดเก็บไว้เป็นฐานข้อมูล จึงขอเปลี่ยนแปลงจาก แบบรายงานผลการดำเนินงาน "การบูรณาการเครือข่ายภาคสังคม" (แบบ ค.สส.๒) เป็นแบบรายงาน ผลการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายภาคสังคมในงานราชทัณฑ์ทั้งนี้ ให้รายงานผลการดำเนินงาน ปีละ 1 ครั้ง (รอบ 12 เดือน) ภายในวันที่ 5 ตุลาคม ของปีงบประมาณถัดไปผ่านใน Google Form หรือ QR Code เท่านั้น โดยในหนังสือรายงานดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงแบบรายงานผลการ ดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายภาคสังคมในงานราชทัณฑ์ที่เข้าร่วมทำ MOU กับหน่วยงานราชทัณฑ์และ การประสานหน่วยงานเครือข่ายภาคสังคม (ภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน) ซึ่งได้ให้การสนับสนุน หรือเข้าร่วมจัดกิจกรรมของเรือนจำหรือทัณฑสถาน โดยในส่วนของการลงพื้นที่ในการปฏิบัติงานจริงนั้นทางหน่วยงานของกระทรวงยุติธรรมจะมี เจ้าหน้าที่ในลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ติดยาเสพติต (ประเภทเสพ หรือ ครอบครองเพื่อเสพ ) ร่วมกับกลุ่ม อาสาสมัครประชาชน หรือที่เรียกกว่า “อาสาสมัครคุมประพฤติ” เพื่อสอดส่องว่าบุคคลดังกล่าวยัง อาศัยอยู่ในพื้นที่หรือไม่ ได้มีการประกอบอาชีพหรือไม่ มีความเป็นอยู่อย่างไรแล้วเขียนลงในบันทึก รายงาน ซึ่งจะมีค่าตอบแทนให้กับอาสาสมัครคุมประพฤติเป็นรายคดี คดีละ 300 บาท ซึ่งต้องมีการ สอดส่องดูแลตั้งแต่วันที่ได้รับการพักโทษจนกว่าจะได้รับการพ้นโทษและหลังจากพ้นโทษอีก 1 ปี ทั้งโดยจากการศึกษานั้นได้พบปัญหาว่าทรัพยากรบุคคลที่ไม่พอเพียงต่อการทำงานร่วมกับภาครัฐ เนื่องจากเมื่อผู้พ้นโทษได้รับการปล่อยตัวออกไปจากเรือนจำแล้วนั้น ชุมชนจะเป็นสถานที่ที่ใกล้ชิดกับ ผู้พ้นโทษมากที่สุดและเมื่อมีอาสาสมัครยุติธรรมชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมทำงานกับภาครัฐแต่ยังขาด

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3