2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

81 แคลนทรัพยากรในด้านบุคคลนั้นจึงทำให้การติดตาม เฝ้าระวังผู้พ้นโทษในภายหลังก็ยังคงไม่มี ประสิทธิภาพมากพอ เนื่องจากพบปัญหาในด้านการขาดแคลนการอบรมความรู้ของอาสาสมัคร ยุติธรรมที่ไม่มีความสม่ำเสมอ ปัญหาด้านค่าใช้จ่ายในการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้พ้นโทษ การเกิด อาสาสมัครคุมประพฤติรุ่นใหม่ๆ โดยจากผลการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์พบข้อเท็จจริง ว่ าท า ง ศู น ย์ ป ร ะ ส าน ง าน แ ล ะ ส่ ง เส ริ ม ก า ร มี ง าน ท ำ (CARE : Center for Assistance to Reintegration and Employment) นั้นมีบุคลากรที่น้อยกว่าอัตราผู้พ้นโทษที่ต้องเข้าไปสอดส่อง ดูแล ซึ่งอาจจะส่งผลให้การดำเนินงานไม่ครอบคลุมกับผู้พ้นโทษทุกรายตามที่ได้ลงทะเบียนไว้กับทาง ศูนย์เอง ทำให้กรมราชทัณฑ์จำเป็นต้องมีการพัฒนาทางด้านเครือข่ายภาคสังคมตาม MOU แต่ อย่างไรก็ดีการสร้างเครือข่ายกับภาคประชาสังคมที่ไม่ใช่เครือข่ายของกรมราชทัณฑ์เองนั้นก็อาจจะมี ปัญหาอุปสรรคในการทำงานเช่นเดียวกัน เนื่องจากภาคเครือข่ายอาจเห็นว่าภารกิจดังกล่าวไม่ใช่ ภารกิจหลักของทางเครือข่ายนั้นๆ ไม่สามารถไปดูแลสอดส่องผู้พ้นโทษอันมีลักษณะที่เป็นภัยต่อสังคม ได้อย่างทันท่วงทีเพราะ กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้โดยเฉพาะเจาะจงในการเฝ้าสังเกตการณ์ จากการวิเคราะห์เอกสารและผลสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรของหน่วยงานที่เข้า มามีบทบาทในการติดตามผู้พ้นโทษในคดียาเสพ ผู้วิจัยเห็นว่า ควรมีการออกกฎหมายให้อำนาจเป็น การเฉพาะเครือข่ายภาคสังคมของกรมราชทัณฑ์และควรเพิ่มแรงจูงใจให้กับอาสาสมัครยุติธรรมชุมชน โดยมีค่าตอบแทนที่มากขึ้น หรือ รางวัลในกรณีของอาสาสมัครดีเด่น สร้างผลงานในกับชุมชนและ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชนในการช่วยกันสอดส่อง เฝ้าระวังผู้พ้นโทษที่มีพฤติกรรม ที่เข้าค่ายก่อการกระทำความผิดซ้ำในคดียาเสพติด โดยอาจจะมีการตั้งรางวัลการแจ้งเหตุให้กับ หน่วยงานทราบเรื่องและผู้แจ้งจะได้รับค่าตามแทนตามจำนวนของยาเสพติดที่ได้มีการจับได้จริง ไม่ให้มองปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งหรือใครคนใดคนหนึ่งที่ต้องดูแล เพื่อให้ชุมชนได้ตระหนักถึงปัญหายาเสพติดจะได้ไม่เกิดขึ้นในชุมชมและสร้างชุมชนให้เป็นชุมชนสีขาว ตามแนวนโยบายของรัฐต่อไป 4.4 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบการติดตามผู้พ้นโทษในคดียาเสพติด จากที่ทางผู้วิจัยได้บรรยายไปข้างต้นแล้วนั้นพบว่าปัจุจันบันการติดตามผู้พ้นโทษในคดียาเสพ ติดยังไม่ได้มีการตรากฎหมายในเรื่องของการติดตามสอดส่องผู้พ้นโทษในคดียาเสพติดเป็น การเฉพาะมีเพียงในส่วนของประมวลกฎหมายยาเสพติด ในเรื่องของการบำบัดรักษาและการฟื้นฟู สภาพทางสังคมแก่ผู้ติดยาเสพติดนั้นได้มุ่งเน้นไปแก้ไขบำบัดฟื้นฟูในส่วนของตัวผู้เสพยาเสพติดเป็น หลักโดยในมาตรา 115 ของประมวลกฎหมายยาเสพติดได้มีการระบุไว้ว่าให้เจ้าพนักงานป้องกันและ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3