2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์
82 ปราบปรามยาเสพติดหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีหน้าที่และอำนาจตรวจหรือค้นผู้มี พฤติการณ์อันควรสงสัยว่าเสพยาเสพติดสอบถามและตรวจสอบ เพื่อทราบชื่อ อาชีพ ที่อยู่ ประวัติ รายได้ และพฤติการณ์อื่น สอบถามความสมัครใจและให้ลงนามสมัครใจหรือไม่สมัครใจเข้ารับการ บำบัดรักษา และได้สมัครใจขอเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลยาเสพติดก่อนที่เจ้าพนักงาน ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะตรวจพบ อีกทั้งได้ปฏิบัติ ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาจนได้รับการรับรองเป็นหนังสือว่าเป็นผู้ผ่านการบำบัดรักษา เป็นที่น่าพอใจจากหัวหน้าสถานพยาบาลยาเสพติดหรือสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ให้ผู้นั้น ไม่มีความผิด ซึ่งช่วยป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในภายหลังลดลง ทั้งนี้ก็ทำให้เห็นช่องว่างทาง กฎหมายที่เห็นได้ชัดเจนระหว่างบุคคลที่เสพยาเสพติดตามมาตรา 162 หรือมาตรา 163 หรือมีไว้ใน ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์เพื่อเสพตามมาตรา 164 แต่กลับไม่มี การกล่าวถึง กลุ่มของผู้ครอบครอง ผู้ขนส่ง ผู้ขายและกลุ่มอื่นๆเลย ซึ่งกลุ่มบุคคลดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นกลุ่มคนส่วน ใหญ่นี้นั้นเป็นต้นเหตุของการก่อให้เกิดปัญหายาเสพติดอันมีผลต่อความมั่งคงและความสงบเรียบร้อย ของสังคม ในส่วนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้พ้นโทษในคดียาเสพติดที่ได้รับการปล่อยตัวภายใต้ เงื่อนไขของการพักการลงโทษนั้นจะมีกฎกระทรวงกำหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาดและเงื่อนไข ที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการพักการลงโทษต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2562 โดยมีการกำหนดเงื่อนไขนักโทษ เด็ดขาดที่ได้รับการพักการลงโทษต้องปฏิบัติตามแจ้งที่อยู่แก่พนักงานควบคุมประพฤติ รายงานตัวต่อ พนักงานควบคุมประพฤติตามระยะเวลาที่กำหนด ประพฤติตนให้อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย ห้ามเสพสารติด ห้ามประกอบอาชีพที่ผิดกฎหมาย รวมไปถึงปฏิบัติตามคำสั่งหรือข้อแนะนำของ พนักงานควบคุมคุมประพฤติ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดการกระทำความผิดซ้ำและสร้างพฤตินิสัยให้ นักโทษกลับตัวกลับใจเป็นคนดี สำหรับเรื่องกระบวนการคุมความประพฤติผู้ได้รับการพักการลงโทษ และลดวันต้องโทษในพระราชบัญญัติคุมประพฤติ พ.ศ. 2559 โดยกำหนดให้เป็นหน้าที่ของสำนักงาน คุมประพฤติเป็นหลัก ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การรับคดีของสำนักงานคุมประพฤติ ขั้นตอนที่ 2 การชี้แจงเงื่อนไขการคุมความประพฤติและรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์และ วางแผน ขั้นตอนที่ 4 ควบคุมและสอดส่องตามเงื่อนไขหรือแก้ไขฟื้นฟูตามสภาพปัญหา ขั้นตอนที่ 5 ประเมินสรุปผลเป็นขั้นตอนที่พนักงานคุมประพฤติจะต้องตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ละสำนวน และขั้นตอนที่ 6 จัดทำรายงานการคุมความประพฤติ จากการศึกษานั้นทางผู้วิจัยมีทั้งแง่ดีและแง่ลบ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3