2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

83 ข้อดีของการพักการลงโทษและลดวันต้องโทษซึ่งมีประโยชน์ทั้งต่อนักโทษและสังคม เช่น จูงใจให้นักโทษประพฤติปฏิบัติตัวอยู่ในระเบียบวินัยเป็นการให้รางวัลแก่นักโทษที่มีพฤติกรรมดี เป็น แรงจูงใจให้นักโทษปฏิบัติตามกฎระเบียบของเรือนจำ ลดความกดดัน ช่วยให้นักโทษมีกำลังใจ ฝึกอบรมหรือทำงาน สร้างความหวังให้นักโทษกลับตัวเป็นพลเมืองดี ลดจำนวนนักโทษในเรือนจำ ช่วยแก้ไขปัญหานักโทษล้นเรือนจำ ประหยัดงบประมาณในการดูแลนักโทษ ช่วยให้เรือนจำมีพื้นที่ และทรัพยากรเพียงพอต่อการดูแลนักโทษ สังคมได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขผู้กระทำผิด เปิดโอกาสให้ ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขผู้กระทำผิด ฝึกให้นักโทษเข้าอยู่ในสังคมอย่างมีกฎเกณฑ์ ฝึกให้ นักโทษรู้จักอยู่ในสังคมที่มีระเบียบ กฎเกณฑ์ และช่วยลดโอกาสที่นักโทษจะกลับมากระทำผิดซ้ำ อย่างไรก็ตามผลกระทบเชิงลบจากการที่ผู้พ้นโทษในคดียาเสพติดได้รับการปล่อยตัวภายใต้ เงื่อนไขของการพักการลงโทษนั้นก็มีปรากฏอยู่ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจำนวนนักโทษพัก การลงโทษที่มากขึ้น ทำให้ข้อจำกัดในด้านเจ้าหน้าที่คุมประพฤติไม่เพียงพอ ผู้พ้นโทษอาจไม่ปฏิบัติ ตามเงื่อนไขและเสี่ยงต่อการหลบหนี ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อความปลอดภัยสาธารณะ ผู้ที่ได้รับการ ปล่อยตัวภายใต้เงื่อนไขการพักการลงโทษ อาจมีความเสี่ยงที่จะกลับมากระทำผิดซ้ำ ซึ่งอาจเป็น อันตรายต่อความปลอดภัยของประชาชน เป็นภาระของครอบครัวและชุมชนอาจต้องเผชิญกับความ กังวลและความกลัวจากการที่ผู้กระทำความผิดได้รับการปล่อยตัวกลับมา การตีตราทางสังคมและ การขาดโอกาสทางสังคม ผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวภายใต้เงื่อนไขการพักการลงโทษ อาจประสบปัญหาใน การหางาน เช่าบ้าน หรือเข้าถึงบริการต่างๆ โดยสรุปแล้ว ผลกระทบของการได้รับการปล่อยตัว ภายใต้เงื่อนไขของการพักการลงโทษ มีทั้งแง่ดีและแง่ลบ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ สิ่งสำคัญ คือ ต้องมีกลไกการติดตามและดูแลผู้ได้รับการปล่อยตัวอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ได้รับการปล่อยตัว จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ โดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่นและสังคม ซึ่งจากการศึกษาพบว่ากฎหมายที่สามารถเข้ามาติดตามสอดส่องผู้พ้นโทษในปัจุจบันได้นั้น มีเพียงพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความ รุนแรง พ.ศ. 2565 ซึ่งพระราชบัญญัตินี้ถูกบัญญัติขึ้นมาเนื่องจากผู้กระทำความผิดอุกฉกรรจ์บาง ประเภทที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรงโดยในมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้กล่าวถึง ความผิดอันลักษณะของการฆาตกรรม การข่มขืนกระทำชำเรา การกระทำความผิดทางเพศกับเด็ก การทำร้ายจนเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย การทำร้ายร่างกายสาหัส รวมทั้งการนำตัวบุคคลไป เรียกค่าไถ่ โดยกระทำความผิดลักษณะที่ทำให้สังคมเกิดความหวาดกลัวและก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อสังคมจึงจำเป็นต้องมาการแก้ไขในตั้งแต่ต้นเหตุทั้งในด้านของการดำเนินคดี การพิจารณาตัดสิน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3