2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์
84 การบังคับโทษ การบำบัดฟื้นฟูและการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องขัง รวมถึงการติดตามสอดส่องการ สงเคราะห์ผู้พ้นโทษ โดยมาตราการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำหลังพ้นโทษตาม พระราชบัญญัตินี้ จะแบ่งออกเป็น 3 ประการ คือ ประการที่หนึ่งจะเป็นมาตรการเฝ้าระวังไม่เกิน 10 ปี ได้แก่ การติดตามด้วยอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ การเข้ารายงานตัวและเข้ารับการรักษา ห้ามเข้าใกล้ผู้เสียหาย พักอาศัยในสถานที่กำหนด ประการที่สองมาตรการคุมขังหลังพ้นโทษไม่เกิน 3 ปี โดยจะเป็นการ ควบคุมผู้พ้นโทษที่มีความเสี่ยงจะทำผิดซ้ำในคดีอุกฉกรรจ์หรือกระทำการฝ่าฝืนเงื่อนไขของการเฝ้า ระวัง และ ประการสุดท้ายเป็นการคุมขังฉุกเฉินไม่เกิน 7 วัน ถ้าผู้ถูกเฝ้าระวังจะกระทำผิดซ้ำหรือมี เหตุฉุกเฉินและไม่มีมาตรการอื่นใดที่จะยับยั้งการทำความผิดหรือการก่อเหตุซ้ำได้โดยพนักงานฝ่าย ปกครอง ตำรวจเข้าจับกุมหรือควบคุมตัวได้ไม่เกิน 48 ชั่วโมงโดยหากมีเหตุเชื่อได้ว่าผู้นั้นจะไปกระทำ ความผิดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 3 และไม่มีมาตรการอื่นใดที่อาจป้องกันไม่ให้บุคคลดังกล่าวกลับไป กระทำความผิดได้ จะขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษหรือผู้ถูกเฝ้าระวังฝ่าฝืน หรือ ไม่ปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษพนักงานคุมประพฤติเสนอ ความเห็นต่อพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลขอคุมขังฉุกเฉิน ทางผู้วิจัยจึงเห็นควรเพิ่มเติมความผิดในคดียาเสพติดเข้ามาในพระราชบัญญัติดังกล่าวโดย เพิ่มเติมให้เป็นมาตรา 3/1 เพื่อให้ครอบคลุมถึงคดียาเสพติดในฐานความผิดครอบครองและจำหน่าย เพื่อเป็นการตัดวงจรของกระบวนการค้ายาเสพติดที่อาจจะส่งผลกระทบและสร้างความเสียหาย แก่ สังคมสังคมในวงกว้างได้ในอนาคตและอีกทั้งเห็นควรแก้ไขในมาตรา 8 โดยมีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ” ซึ่งประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรมเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวง มหาดไทย อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม อัยการสูงสุด และกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ หรือมีประสบการณ์เป็นที่ ประจักษ์ด้านกฎหมาย ด้านอาชญาวิทยา ด้านทัณฑวิทยา ด้านการบริหารงานยุติธรรม ด้านสังคม วิทยาและมนุษยวิทยา ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านจิตวิทยา ด้านจิตเวชศาสตร์ หรือด้านอื่น ๆ ที่เป็น ประโยชน์ต่อการป้องกัน การกระทำความผิดซ้ำจำนวนไม่เกิน 5 คนเป็นกรรมการ ให้อธิบดีเป็น กรรมการและเลขานุการ และให้อธิบดีแต่งตั้งข้าราชการในกรมคุมประพฤติ จำนวน 1 คนเป็น ผู้ช่วยเลขานุการ และให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์แต่งตั้งข้าราชการในกรมราชทัณฑ์ จำนวน 1 คนเป็น ผู้ช่วยเลขานุการ ซึ่งเนื่องจาก พระราชบัญญัติฉบับนี้ยังไม่ได้มีการกล่าวถึงคดียาเสพติด จึงทำให้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3