2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์
87 ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องมีหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไข ฟื้นฟู และ ติดตามผู้พ้นโทษคดีดังกล่าวควบคู่ไปกับการจัดทำกฎหมาย นโยบาย หรือระเบียบ มาตรการต่าง ๆ ที่ให้อำนาจแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ทั้งนี้ เพื่อสร้าง ความปลอดภัย ลดอัตราการกระทำความผิดซ้ำ ยับยั้งการแพร่กระจายของคดีอาชญากรรมเกี่ยวกับ ยาเสพติด ส่งผลดีต่อสังคมและป้องกันการกระทำความผิดในอนาคต โดยกฎหมาย นโยบาย หรือ ระเบียบ มาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องควรมีความชัดเจนและเหมาะสมกับระบบการติดตามผู้พ้นโทษ คดีอาชญากรรมเกี่ยวกับยาเสพติด โดยประกอบด้วย 3 ประเด็นสำคัญ ดังนี้ 5.2.1 ปัญหาของการกระทำผิดซ้ำของผู้พ้นโทษในคดียาเสพติด การกระทำผิดซ้ำของผู้พ้นโทษในคดียาเสพติด เป็นปัญหาเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทย อย่างมาก สถิติการกลับมากระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังคดียาเสพติดมีอัตราสูงจึงสะท้อนให้เห็นถึงความ ล้มเหลวของระบบการบำบัดฟื้นฟูและการให้โอกาสผู้พ้นโทษ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลับมากระทำผิด ซ้ำ ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการกลับมากระทำผิดซ้ำ เช่น ปัญหาการขาดโอกาสในการหางานทำ การถูกตีตราจากสังคม การขาดการสนับสนุนจากครอบครัว ปัญหาสุขภาพจิต และการเข้าถึงยาเสพ ติดได้ง่าย จึงก่อให้เกิดผลกระทบของการกระทำผิดซ้ำของผู้พ้นโทษคดียาเสพติดอีกครั้ง ทางด้าน สังคม และตามมาด้วยปัญหาอื่นภายหลัง เช่น ปัญหาอาชญากรรม การสูญเสียทรัพย์สิน ปัญหา สุขภาพและความเสื่อมโทรมของคุณภาพชีวิต จากการศึกษาพบว่าตามหลักทฤษฎีของการกระทำความผิดซ้ำนั้นสามารถแบ่งออกได้ 2 สาเหตุ คือ ประการแรก กระทำความผิดซ้ำจนเป็นนิสัย คือ ผู้ที่มี "อาชีพ" ในการทำผิดกฎหมาย ซึ่งบุคคลเหล่านี้เปรียบเสมือนมะเร็งร้ายที่กำลังกัดกินสังคมไทย โดยจะมีทักษะเฉพาะทางในการ ก่ออาชญากรรม ใช้ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ เพื่อวางแผนและลงมืออย่างชาญฉลาด และมีรายได้หลักจากการก่ออาชญากรรมเปรียบเสมือนงานประจำที่เลี้ยงชีพ ดังเช่นตัวอย่างของ นักค้ายาเสพติด แม้จะถูกจับและลงโทษ แต่เมื่อพ้นโทษ พวกเขามักกลับมาค้ายาเสพติดอีก เพราะ มองว่าเป็นอาชีพที่ร่ำรวยและทำได้ง่าย ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัย ปัญหาเศรษฐกิจและ ปัญหาสังคม ประการที่สองกระทำความผิดซ้ำเป็นจิตบกพร่อง เป็นผู้ที่มีความบกพร่องทางจิตนำไปสู่ การประกอบอาชญากรรมซ้ำซาก ซึ่งไม่ได้เกิดจากความชั่วร้ายในจิตมจให้กระทำความผิดอาจจะมี สาเหตุทางจิตวิทยาบางประการ เช่น ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ชอบเสี่ยง ไม่ยำเกรงกฎหมาย ปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวลและรวมไปถึงการติดยาเสพติด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3