2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

89 โดยปัญหาของระบบการติดตามผู้พ้นโทษในคดียาเสพติดได้เล็งเห็นว่าต้องนำเอาแนวความคิด ของหลักสิทธิมนุษยชนเข้ามาประกอบร่วมด้วยเนื่องจากจำเป็นต้องมีการเข้าไปติดตาม สอดส่องผู้พ้น โทษเพียงบางกลุ่มเท่านั้นซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่เป็นอิสระในการดำเนินชีวิต โดยจำเป็นต้องมี กฎหมายมารับรองในการจำกัดสิทธิบางประการตามรัฐธรรมนูญเพื่อความปลอดภัยของสังคมส่วนร่วม โดยจะมีมาตรการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำ ความผิด ซึ่งการนำมาตรการมาใช้บังคับ อาจมีผลเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล จำเป็น อย่างยิ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบจะต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง เท่าที่จำเป็น รัดกุม และเป็นธรรม ประการสำคัญจะต้องคำนึงถึงหลักความได้สัดส่วนหรือความสมดุล ระหว่างการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของผู้กระทำความผิดกับความปลอดภัยของสังคมด้วย ซึ่งจาก การศึกษาพบว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องการกระติดตามผู้พ้นโทษนั้นมีเพียงพระราชบัญญัติมาตรการ ป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ .ศ. 2565 ซึ่งเป็น กฎหมายในการเฝ้าระวังนักโทษเด็ดขาดภายหลังพ้นโทษที่ใช้บังคับกับผู้ที่ทำความผิดในคดีฆาตกรรม การข่มขืนกระทำชำเรา การกระทำความผิดทางเพศกับเด็ก การทำร้ายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความ ตาย การทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัส รวมทั้งการนำตัวบุคคลไปเรียกค่าไถ่เพียง เท่านั้น ซึ่งทางผู้วิจัยเห็นว่าควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามประมวลกฎหมาย ยาเสพติดบางมาตราเข้าไปในพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วย เนื่องจากยาเสพติดนั้นยังคงเป็นสาเหตุหลัก ของการก่อให้เกิดอาชญากรรมที่รุนแรงซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้างให้กับสังคมและเกิดผู้เสียหาย จำนวนมาก เมื่อศึกษากฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐสิงคโปร์และ สาธารณรัฐ ออสเตรีย พบว่ากฎหมายของทั้ง 3 ประเทศ มีการมุ่งแก้ไขฟื้นฟูผู้พ้นโทษไม่ให้กลับไปกระทำความผิด ซ้ำโดยอาจจะเป็นการต้องรายงานประวัติการได้รับโทษให้กับสถานที่ทำงานเพื่อได้ตระหนักถึงการมี อาชีพที่ต้องใช้ในการดำเนินชีวิตในภายหลังจากได้รับการปล่อยตัวออกมาว่าไม่ควรก่อให้เกิดความผิด ซ้ำอีก กฎหมายของสาธารณรัฐสิงคโปร์เป็นระบบเข้ามาควบคุมบังคับ การแยกที่พักอาศัย การ กำหนดระยะเวลาในการใช้ชีวิตหรือใช้การตรวจสอบทางอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาช่วยเพื่อเป็นการลด ความเสี่ยงในการก่ออาชญากรรมให้กับสังคมอีกด้วย ดังนั้นหากนำมาปรับใช้กับประเทศไทยย่อมถือ ว่าเป็นผลดีในเรื่องของการแก้ไขฟื้นฟูผู้พ้นโทษหลังจากได้รับการปล่อยตัวออกมาจากเรือนจำ เพื่อให้ ได้ทราบถึงบริเวณที่อยู่อาศัย การประกอบอาชีพของผู้พ้นโทษส่งผลให้มีความสะดวกให้กับหน่วยงาน ที่ต้องเข้าไปสอดส่องดูแลผู้พ้นโทษในกลุ่มของคดียาเสพติด ในส่วนของสาธารณรัฐออสเตรีย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3