2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์
90 พระราชบัญญัติผู้กระทำความผิดร้ายแรง พ.ศ. 2561 หรือ The Serious Offenders Act 2018 ได้มี การครอบคลุมความผิดไปยังการค้ายาเสพติดด้วย โดยจะต้องมีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป และอาจถูก ควบคุมดูแลโดยใช้ระบบติดตามอิเล็กทรอนิกส์ ห้ามเข้าใกล้สถานที่หรือบุคคล รวมไปถึงอาจถูกเพิก ถอนสิทธิประโยชน์บางประการ เช่น สิทธิเลือกตั้ง สิทธิในการประกอบอาชีพ แต่ยังมีข้อจำกัดบาง ประการ เช่น อาจละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้กระทำความผิดร้ายแรง และอาจมีค่าใช้จ่ายสูงในการ ดำเนินการ ซึ่งหากนำเอากฎหมายของสาธารณรัฐออสเตรียมาปรับใช้กับกฎหมายไทยในส่วนของ อัตราโทษและการจำกัดสิทธิบางประการกับผู้ที่กระทำความผิดในลักษณะที่ร้ายแรง นั้น ย่อมทำให้มีผู้กระทำความผิดจะกลับมากระทำผิดซ้ำน้อยลง เนื่องจากอัตราโทษที่หนักขึ้นและการ จำกัดสิทธิ ส่วนในภาคของสังคมนั้นประชาชนจะมีความปลอดภัยมากขึ้น กฎหมายของสหราชอาณาจักร ซึ่งหากมาปรับใช้กับกฎหมายไทยนั้นมีความเป็นไปได้ยาก สำหรับในคดียาเสพติด เพราะ อัตราโทษของคดียาเสพติดส่วนใหญ่ตามข้อเท็จจริงนั้น ผู้กระทำ ความผิดจะได้รับการลงโทษเพียงไม่นานก็จะได้รับการปล่อยตัวออกมา แต่แผนการณ์ในอนาตต สามารถนำมาปรับในเรื่องของการสามารถสมัครเข้าทำงาน เพื่อให้ผู้พ้นโทษได้รับการคุ้มครองสิทธิใน เรื่องการทำงานของตน โดยที่สังคมไม่ปิดกั้นเปิดโอกาสให้กลับตัวแก้ ไ ขตน เ อง ใหม่ 5.2.3 อุปสรรคของหน่วยงานที่เข้ามามีบทบาทในการติดตามผู้พ้นโทษในคดียาเสพติด การลงโทษจำคุกผู้ที่กระทำความผิดเพื่อสำนึกผิดเข็ดหลาบและไม่กระทำความผิดซ้ำอีกภายหลัง และเป็นการทดแทนหรือชดเชยต่อผู้เสียหายเพื่อป้องกันการแก้แค้นและในขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงให้ ผู้อื่นเห็นว่าไม่ควรกระทำผิดตาม เพื่อให้เกิดความเกรงกลัวต่อโทษกฎหมายและเมื่อหลังจากที่ได้รับโทษ แล้วบุคคลย่อมได้รับอิสระโดยการปล่อยตัวพ้นโทษ โดยไม่ว่าจะเป็นกรณีการพ้นโทษโดยครบกำหนด โทษตามคำพิพากษาหรือการพ้นโทษโดยการได้รับพักโทษก็ตาม ย่อมถือว่าได้รับการลงโทษตาม กฎหมายสิ้นสุดลงแล้วแต่เมื่อได้รับการปล่อยตัวออกมาแล้วก็ยังมีกลุ่มคนบางกลุ่มที่ยังไม่รู้สึกสำนึก เข็ดหลาบต่อมาภายหลังก่อให้เกิดการกระทำความผิดซ้ำขึ้น จากข้อมูลของกรมราชทัณฑ์ในคดียาเสพ ติดนั้นมีสถิติของการกระทำผิดซ้ำเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งการพ้นโทษในกรณีของการได้รับพักการลงโทษ ยังพอที่จะป้องกันมิให้เกิดการกระทำความผิดซ้ำขึ้นได้ เนื่องจากต้องอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงาน กรมคุมประพฤติและมีเงื่อนไขให้ต้องปฏิบัติตามอยู่ แต่ยังมีช่องว่างในกฎกระทรวงกำหนดประโยชน์ ของนักโทษเด็ดขาดและเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการพักการลงโทษต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2562 โดยเห็นว่า กฎกระทรวงดังกล่าวไม่ได้มีการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกที่ตายตัวสำหรับนักโทษเด็ดขาด ที่จะได้รับประโยชน์ จะพิจารณาจาก "ความประพฤติดี" ของนักโทษเด็ดขาด ขาดการตรวจสอบการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3