2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

91 ใช้อำนาจของคณะกรรมการพิจารณาและในส่วนของบทลงโทษสำหรับนักโทษเด็ดขาดที่ฝ่าฝืนเงื่อนไข การพักการลงโทษ เพียงแค่การเพิกถอนการพักการลงโทษ ซึ่งอาจไม่เพียงพอที่จะยับยั้งพฤติกรรมที่ ไม่พึงประสงค์หรือเสี่ยงต่อการกระทำความผิดซ้ำอีก รวมถึงการขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชา สังคมให้มีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาการให้ประโยชน์แก่นักโทษเด็ดขาด ซึ่งนักโทษเด็ดขาดซึ่ง ได้รับการพักการจะแตกต่างกับผู้ที่ได้รับการพ้นโทษในกรณีของครบกำหนดโทษจำคุกตามคำพิพากษา และการได้รับพระราชทานอภัยโทษที่ไม่มีหน่วยงานที่มีอำนาจเข้ามาติดตาม สอดส่องหรือมีเงื่อนไข อื่น ๆ ให้ต้องปฏิบัติตาม แม้ในปัจจุบันทาง กรมราชทัณฑ์ ได้มีนโยบายให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการ มีงานทำ (CARE : Center for Assistance to Reintegration and Employment) เพื่อช่วยลด ปัญหาการว่างงาน ช่วยให้ผู้พ้นโทษมีงานทำ ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายจัดหางานให้กับ ผู้ว่างงาน พัฒนาทักษะแรงงานส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ สร้างงานใหม่ ในรูปแบบการ ดำเนินงานของการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชน จัดฝึกอบรม พัฒนาทักษะ ให้เงินทุนสนับสนุนการประกอบอาชีพอิสระ ส่งเสริมการจ้างงาน เช่น โครงการ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" โครงการ "ไทยมีงานทำ" และโครงการ "พัฒนาทักษะแรงงาน" ซึ่ง การ จัดตั้งศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานทำ มีข้อดีในการช่วยลดปัญหาการว่างงาน ช่วยให้ผู้พ้น โทษมีรายได้ ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ ช่วยพัฒนาทักษะแรงงาน ช่วยส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ แต่ทั้งนี้ก็มีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ บุคลากร สถานที่ ซึ่งทั้งนี้การเข้ารับบริการของทางศูนย์ ประสานงานและส่งเสริมการมีงานทำ จะ ยังต้องขึ้นอยู่ กับการคัดกรองข้อมูลของผู้รับบริการ (ผู้ต้องขังก่อนพ้นโทษ) ว่าจะยินยอมขอรับความช่วยเหลือจาก ศูนย์ดังล่าวด้วยหรือไม่ หากยินยอมทางศูนย์ก็จะนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ CARE Support และประสาน หน่วยงานภายในผ่านช่องทางออนไลน์ การติดตามผลดูแลทางโทรศัพท์และการลงพื้นที่เข้าไปเยี่ยม บ้านผู้พ้นโทษต่อไป แต่หากไม่ขอรับความช่วยเหลือจากศูนย์จะมีการคัดกรองและตรวจสอบแผนการ ดำเนินชีวิตภายหลังพ้นโทษและให้ข้อมูลทางการติดต่อไว้ภายหลั ง 5.3 ข้อเสนอแนะ จากปัญหาที่กล่าวมาแล้วจึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1.ข้อเสนอแนะทางกฎหมาย 1.1 เสนอแนะให้เพิ่มเติมในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3