2566-3 -ดาวนภา พิทักษ์ - วิทยานิพนธ์

92 กระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 ดังนี้โดยกำหนดมาตรา เพิ่มเติมขึ้นมาเป็นมาตรา 3/1 มีข้อความดังนี้ “มาตรา 3/1 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับครอบคลุม ไปถึงแก่การกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 145 มาตรา 146 มาตรา 147 มาตรา 148 มาตรา 149 มาตรา 162 มาตรา 163 และมาตรา 164 ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 เฉพาะบุคคลที่มีพฤติกรรมก่อให้เกิดเหตุแรงร้ายและก่อความเสียหายให้กับสังคมส่วนใหญ่” 1.2 เสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติมในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการ กระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. 2565 ดังนี้ โดยกำหนดให้แก้ไข เพิ่มเติมในมาตรา 8 มีข้อความดังนี้ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการป้องกันการ กระทำความผิดซ้ำ” ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม อัยการสูงสุด และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง จากผู้มีความรู้ความสามารถ ความ เชี่ยวชาญ หรือมีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ด้านกฎหมาย ด้านอาชญาวิทยา ด้านทัณฑวิทยา ด้าน การบริหารงานยุติธรรม ด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านจิตวิทยา ด้าน จิตเวชศาสตร์ หรือด้านอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการป้องกัน การกระทำความผิดซ้ำจำนวนไม่เกินห้า คน เป็นกรรมการ ให้อธิบดีเป็นกรรมการและเลขานุการ และให้อธิบดีแต่งตั้งข้าราชการในกรมคุมประพฤติ จำนวนหนึ่งคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ และให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์แต่งตั้งข้าราชการในกรมราชทัณฑ์ จำนวนหนึ่งคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ 1.3 เสนอแนะแก้ไขเพิ่มเติมในกฎกระทรวงกำหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาดและเงื่อนไข ที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการพักการลงโทษ พ.ศ. 2562 เนื่องจากการพิจารณาให้ประโยชน์แก่ นักโทษเด็ดขาดแต่ละกรณีขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการพิจารณา โดยเห็นควรกำหนดเกณฑ์ การคัดเลือกที่ชัดเจนและตรวจสอบได้ของนักโทษเด็ดขาดที่ได้รับการพักการลงโทษ มีกลไกในการ ตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะกรรมการพิจารณาและพิจารณาบทลงโทษที่รุนแรงขึ้นสำหรับ นักโทษเด็ดขาดที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขการพักการลงโทษ โดยเพิ่มอัตราในการติดตามกำหนดระยะ 3 ปี ภายหลังได้รับการพ้นโทษและเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3