2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ

105 ปัญหาความขัดแย้งและส่งเสริมความปรองดองภายในสังคมของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย ตัวชี้วัดต่างๆ เช่น อัตราส่วนของคดีแพ่งที่สามารถไกล่เกลี่ยต่อศาลได้สาเร็จ และการเพิ่มขึ้นของข้อ พิพาทที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยก่อนที่จะยื่นฟ้อง เราสามารถติดตามความคืบหน้าของเราและ รับรองว่าความพยายามของเรากาลังสร้างผลกระทบเชิงบวก ด้วยการทาตามแนวทางปฏิบัติเจ็ด ขั้นตอน เราจะสามารถปรับปรุงระบบการระงับข้อพิพาททางเลือกของเราต่อไป และสร้างสังคมที่มี ความสามัคคีและยุติธรรมมากขึ้นสาหรับทุกคน ดังนี้ 1. พัฒนาระบบการไกล่เกลี่ ยข้อพิพาทของศาลยุติธรรมในทุกชั้นศาล ให้เป็น กระบวนการยุติธรรมทางเลือกที่มีประสิทธิภาพ 2. เร่งพัฒนาระบบอนุญาโตตุลาการให้แพร่หลายยิ่งขึ้น โดยมีกระบวนพิจารณาที่ ทันสมัย มีประสิทธิภาพสูงและมีการกากับดูแลที่ เหมาะสมเพื่ อเพิ่ มความเข้มแข็งของระบบ อนุญาโตตุลาการ 3. ส่งเสริมให้คู่ความเข้าถึงและใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยได้อย่างสะดวกและช่วย ประหยัดค่าใช้จ่าย โดยการนาเทคโนโลยีเข้ามาใช้สนับสนุนการไกล่เกลี่ยให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและคู่กรณีนาข้อพิพาท เข้าสู่กระบวนการไกล่ เกลี่ยตั้งแต่ก่อนยื่นฟ้องคดีต่อศาล เพื่อลดปริมาณคดีที่จะเข้าสู่ศาลและแก้ปัญหาข้อพิพาท และความ เดือดร้อนของประชาชนและคู่กรณีให้ยุติโดยเร็วยิ่งขึ้น และระงับข้อพิพาทด้วยแนวทางที่ทุกฝ่ายพึง พอใจ 5. พัฒนาบุคลากรผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ให้มีความรู้ความ เชี่ยวชาญ ตลอดจนมีทักษะและสมรรถนะต่าง ๆ ที่จาเป็นในการไกล่เกลี่ย ให้สามารถไกล่เกลี่ยข้อ พิพาทที่มี ความสลับซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 6. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้คู่ความทนายความและประชาชนตระหนักถึง คุณประโยชน์ของการระงับข้อพิพาททางเลือกและมีความประสงค์ที่จะให้ระงับข้อพิพาทของตนด้วย วิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกให้แพร่หลายมากขึ้น 7. เสริมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานในภาคส่วนอื่นเพื่อนาการไกล่เกลี่ยไปมีส่วน ช่วยในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และสังคม เช่น ภาวะหนี้สินจากวิกฤติ โรคระบาด หรือวิกฤติ เศรษฐกิจ 2.5.2 ยุทธศาสตร์ R เชื่อถือในระดับสากล (Reliability) ศาลยุติธรรมมีหน้าที่คุ้มครองสิทธิของประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างทั่วถึง และเสมอภาค ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้บัญญัติให้บุคคลย่อมเสมอกันใน กฎหมาย และเสรีภาพ และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ประกอบกับประเทศไทย เป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่องค์การสหประชาชาติถือเป็นสนธิสัญญาหลัก เพื่อเป็น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3