2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ
107 2. ศาลยุติธรรมมีการดาเนินมาตรการต่าง ๆ ที่ช่วยลดการคุมขัง ที่ไม่จาเป็นในทุก ขั้นตอนและพัฒนาแนวทางการใช้มาตรการลงโทษระดับกลางหรือมาตรการลงโทษทางเลือกทดแทน การจาคุกหรือกักขังตามที่กฎหมายเปิดช่องไว้ให้มีความแพร่หลายและมีการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น 3. ศาลยุติธรรมมีการใช้มาตรการลงโทษและแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทาความผิดในคดีอาญา ที่หลากหลาย โดยใช้มาตรการที่ไม่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพเกินความจาเป็น และกาหนดมาตรการ แก้ไขฟื้นฟูที่เหมาะสมกับสภาพความผิดและตัวผู้กระทาผิดให้มากขึ้นเพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมในอนาคต 4. การส่งเสริมให้มีมาตรการและแนวทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กและเยาวชนที่ กระทาผิดให้มีความหลากหลาย สร้างเสริม ทัศนะคติเชิงบวก และสนับสนุนบทบาทของครอบครัว และชุมชนในการช่วยเหลือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยลดมาตรการที่เป็นการจากัดสิทธิเสรีภาพ 5. พัฒนาระบบประเมินความเหมาะสมในการปล่อยชั่วคราวโดยการวิจัยและศึกษา ปัจจัยที่อาจมีผลต่อการปฏิบัติตามเงื่อนไขในการปล่อยชั่วคราว ความเป็นไปได้ที่จะมีการหลบหนี เพื่อสร้างระบบประเมินที่จะกาหนดมาตรการที่เหมาะสมในการดาเนินการต่อผู้ต้องหาหรือจาเลยใน ระหว่างการพิจารณา 6. การพัฒนาระบบผู้กากับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวให้มีความเข้มแข็งและมีการใช้ อย่างแพร่หลาย 7. การปรับปรุงห้องควบคุมของทุกศาลให้ได้มาตรฐานสิทธิมนุษยชนและเป็น มาตรฐานเดียวกัน 8. เพิ่มช่องทางในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพให้แก่คู่ความ พยานและผู้เกี่ยวข้องที่ อยู่ในต่างประเทศ และเพิ่มช่องทางการระงับข้อพิพาทในคดีระหว่างประเทศ 9. เสริมสร้างระบบการจัดหาล่ามสาหรับคู่ความในคดีอาญา ให้มีความทั่วถึงและมี ความหลากหลายทางภาษา และพัฒนา ทักษะและความเชี่ยวชาญของล่ามที่ศาลจัดหาให้มีมาตรฐาน และเป็นที่ไว้วางใจของคู่ความ 10. สนับสนุนการให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึงโดยลดขั้นตอน ลดภาระค่าใช้จ่าย และลดระยะเวลาในการดาเนินการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่ายและ เสมอ ภาคไม่ว่าอยู่ในเขตท้องที่ใด 11. ส่งเสริมให้ผู้เสียหายในคดีอาญาและผู้ต้องหาหรือจาเลยได้ร่วมกันหาวิธีการ เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยการ ไกล่เกลี่ยในคดีอาญาต่าง ๆ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3