2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ

122 ที่ปลายศตวรรษที่ 19 และได้รับความนิยมมากขึ้น เมื่อศตวรรษที่ 20 พาวน์ กล่าวว่า ความมุ่งหวังนั้น ขึ้นอยู่กับการรวมตัวของความเป็นจริงในชีวิตกับกฎหมาย (ในความหมายของนักสังคมวิทยา) การ กาหนดสภาพแวดล้อมของการศึกษาสังคมวิทยากฎหมาย ตัวแปรที่สาคัญเกี่ยวกับกฎหมายนั้น คือ ความคิด คุณค่า และระดับของเป้าหมายที่เป็นสิ่งจาเพาะของขอบเขตของปรัชญากฎหมาย สังคม วิทยากฎหมายนั้นจึงเป็นวิชาพื้นฐานสาหรับ นักนิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยา นักนิติปรัชญา และนัก นิติศาสตร์เชิงปรัชญา อย่างไรก็ตามนักนิติศาสตร์จาเป็นต้องสร้างสิ่งที่เป็นพื้นฐานเหล่านี้ แม้ว่าในสมัย หนึ่งจะมีผู้พิพากษายืนยันว่าสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถกระทานอกเหนือหลักเกณฑ์เดิมขึ้นมาได้ แต่สังคม วิทยากฎหมายไม่ได้เป็นเพียงแค่กฎหมายกับสังคมเท่านั้น มากไปกว่านั้นคือการเรี ยกร้องให้มี การศึกษาสังคมวิทยากฎหมายอย่างเพียงพอสาหรับนักนิติศาสตร์ เพื่อการนามาซึ่งพื้นฐานที่ง่ายต่อ การเข้าใจกฎหมายมากกว่าการเข้าถึงธรรมชาติของกฎหมาย การให้ความสนใจไปที่ความแตกต่าง ระหว่างสังคมวิทยากับกฎหมายนั้นไม่สามารถแทนที่กันได้ ทั้งสองอย่างต้องควบคู่กันไประหว่างนิติ ปรัชญากับสังคมวิทยาที่เป็นศาสตร์เก่าแก่กว่า พร้อมวิธีการจัดการในรูปแบบของวิธีการทางปรัชญา เคลเซ่น (Hans Kelsen) อธิบายว่า สังคมวิทยากฎหมายเป็นศาสตร์ที่อธิบายเกี่ยวกับธรรมชาติ พฤติกรรมของมนุษย์ ตามที่มัน “เป็น” ตราบเท่าที่มันมีผลกระทบระบบกฎหมาย ในทางกลับกันวิชา กฎหมายเป็นวิชาที่ว่าด้วยบรรทัดฐานและศึกษากฎเกณฑ์ในทางสังคมในสิ่งที่ “ควร” จะเป็นมากกว่า วิธีการของสังคมวิทยากฎหมายวางอยู่บนพื้นฐานของหลักการของสาเหตุ (Principle of Causality) แต่วิธีการของนิติศาสตร์เป็นการสร้างบรรทัดฐานในเชิงหลักการของ การกล่าวหา (Principle of imputation) นี้คือความแตกต่างระหว่างสังคมวิทยา กฎหมายกับหลักกฎหมาย ในส่วนของนัก ปรัชญา ฮาร์ต (H.L.A. Hart) เขาได้มีการกล่าวไว้ใน The Concept of Law ว่า ในแนวคิดด้าน กฎหมายนั้น มีการสร้างความแตกต่างในระดับพื้นฐานระหว่างมุมมองภายในและมุมมองภายนอกของ บรรทัดฐาน มุมมองภายในคือการสารวจปัญหาของบุคคลในสังคมว่ายอมรับบรรทัดฐานที่เป็น ส่วนประกอบของกลุ่ม และกลุ่มนั้นมีการ กาหนดเชิงความต้องการในการเรียกร้องสิทธิตามกฎหมาย และเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาเช่น พื้นฐานของการเรียกร้องสิทธิ ( the basis for claims) ความ ต้องการ (demands) การรับรองสิทธิ (admissions) การวิจารณ์หรือการลงโทษ (criticism or punishment) ในการซื้ อขายตามกฎระเบียบที่ คุ้ นเคยในชีวิ ตประจาวัน ( in all the familiar transactions of Life according to rules) ในทางกลับกันมุมมองภายนอกนั้ น คือการมีที่ มีผู้ สังเกตการณ์และอธิบายและหลักเกณฑ์ในการจดบันทึกพฤติกรรมแบบเดียวกันสม ่าเสมอ ( Regular and Uniform behaviour) และการตรวจสอบปฏิกิริยาที่ เป็นปรปักษ์ (hostile Reaction) จาก พฤติกรรมดังกล่าว เวเบอร์ (Max Veber) ที่ถือว่าเป็นผู้ที่ศึกษาความคิดทางสังคมวิทยาชาวเยอรมัน เขาศึกษาบทบาทของสังคมวิทยากับมิติของศาสตร์อื่น ๆ เวเบอร์ได้วางหลักการทางสังคมวิทยา กฎหมายไว้ว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ อื่น ๆ กับระบบกฎหมายการแยกประเภทของ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3