2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ
123 การศึกษาตามรูปแบบของเวเบอร์นั้น อันโธนี กอร์นแมน (Anthony kronman) อธิบายว่า ลักษณะ ของการศึกษากฎหมายมี 3 ประการ คือ 1.การศึกษามุมมองภายในของกฎหมาย คือการศึกษา กฎหมายในแง่ของบทบัญญัติที่เป็นส่วนสาคัญในการทางานของระบบกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกัน กับแนวคิดพื้นฐานของนักคิดและแนวปฏิบัติของกฎหมาย ทั้งการพัฒนากฎหมายของนักวิชาการ กฎหมายให้สัมพันธ์กับองค์ความรู้อื่น ๆ 2.การศึกษามุมมองภายนอกของกฎหมาย ก้าวข้ามมุมมอง ทางศีลธรรมและแนวคิดทางปรัชญาที่มุ่งเน้นภารกิจในเชิงการค้นหาความชอบธรรมสูงสุดของ กฎหมายบนพื้นฐานของหลักการทางศีลธรรม เพื่อการวิพากษ์วิจารณ์เงื่อนไขที่มีอยู่ของกฎหมาย ใน ขอบเขตของศีลธรรมเหล่านั้นให้อยู่ให้รูปของมาตรฐานทางบรรทัดฐาน 3.การศึกษากฎหมายที่ สัมพันธ์กับสิ่งอื่น ๆ คือการศึกษากฎหมายเชิงทฤษฎีและเชิงประจักษ์เพื่อตรวจสอบการขับเคลื่อน ลักษณะและระบบกฎหมายที่อยู่ในรัฐ พร้อมทั้งการศึกษาสาเหตุของผลกระทบ โครงสร้าง หน้าที่ และวัตถุประสงค์ แนวทางการปฏิบัติของกฎหมาย การพยายามที่จะตรวจสอบลักษณะภายนอกของ กฎหมายผ่านมุมมองภายนอกจะเกิดการวิเคราะห์และการปรับตัวตัวของกฎหมายและการตรวจสอบ ที่ว่านี้จะต้องอยู่ในรูปแบบของระเบียบวิจัย เพื่อที่จะระบุถึงความสามารถที่จะตั้งคาถามได้ ในแง่หนึ่ง คือการศึกษากฎหมายกับสังคมศาสตร์ กฎหมายกับความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น ๆ ในมิติต่าง ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ส่วนประโยชน์นิยม (Utilitarianism) หมายถึงทฤษฎีจริยศาสตร์ (Ethics) ที่ถือว่าความดีคือความสุข (Happiness) การกระทาที่ถูกต้องคือ การสร้างความสุขให้ เกิดขึ้นแก่คนจานวนมากที่สุด หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หลักมหสุข (The Greatest Happiness Principle) โสเครตีส นักปรัชญาที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากคนหนึ่งในยุคกรีกด้าน การเมืองและการปกครอง กล่ าวถึ งแนวคิดแบบประโยชน์สุขนิยม คือ ครั้ งหนึ่ งอดีมานตัส (Adinantus) ถามโสเครตีสว่าผู้ปกครองรัฐควรทาตัวอย่างไร โสเครตีสตอบว่าพวกเขาต้องไม่นึกถึง ผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่นึกถึงความร ่ารวยของตัวเอง “ต้องนึกถึงความสุขของสังคม อันมิใช่ ความสุขของชน กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือความสุขของกลุ่มผู้ปกครองเอง” ประโยชน์นิยมเป็นจริยศาสตร์ ที่มีการตัดสินผลของการกระทาเสมอ (consequencentialism) ดังนั้น ความดีคือความสุขของคนหมู่ มาก ส่วนความทุกข์คือผลตรงข้ามกับของการกระทาโดยแนวความคิดประโยชน์นิยมนั้นอยู่ในข่าย ของจริยศาสตร์สุขนิยม (Hedonism) ความสุขหมายถึงความพอใจ (Pleasure) และปราศจากความ ทุกข์ทรมาน ความทุกข์ คือ ความเจ็บปวดทรมาน (suffering and pain) ชิควิค (Sidgwick) กล่าวว่า “ประโยชน์นิยม เป็นทฤษฎี ทางจริยศาสตร์ที่ถือว่าพฤติกรรมใด ๆ ก็ตามที่นามาซึ่งความสุขมากที่สุด และเผื่อแผ่แก่คนจานวนมากที่สุด การกระทานั้น ๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี” ประโยชน์นิยมเป็นทฤษฎีจริย ศาสตร์ที่ถูกคิดค้นโดย เบนธัม (Bentham) แต่ผู้ที่พัฒนาต่อยอดให้ลัทธินี้มีความเด่นชันมากกว่า คือ จอร์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) แนวคิดเรื่องประโยชน์นิยมของเบนธัมนั้น วางหลักไว้ว่า ธรรมชาตินั้นได้วางมนุษย์ให้อยู่ภายใต้การปกครองของนายสองคนคือ ความเจ็บปวดกับความพึง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3