2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ

126 พื้นฐานมาจากแนวคิดแบบประโยชน์นิยม แต่ไม่ใช่ประโยชน์นิยมที่เป็นเนื้อเดียวกันกับแนวคิดของ มิลล์หรือแบนธัม พาวนด์เลือกใช้คาว่า Interest เพราะการเปลี่ยนแปลงทางสังคมแบบอเมริกาที่ก้าว กระโดดจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม เพื่อจะให้กฎหมายก้าวทันกับโลกยุคอุตสาหกรรม การ ปรับปรุงกฎหมายในเชิงโครงสร้างจึงต้องอาศัยการปฏิรูปทางสังคมที่ยึดข้อเรียกร้องของปัจเจกชนเป็น หลัก ทั้งมองถึงความต้องการของเขาเป็นแม่บทในการแก้ปัญหาและการตอบสนองความต้องการ ผลประโยชน์ของเอกชน เป็นส่วนหนึ่งในเป้าประสงค์ในการเชื่อมผลประโยชน์ทั้งหลายเข้าด้วยกันทั้ง ผลประโยชน์มหาชนและผลประโยชน์สังคม ไม่ใช่ความสุขของคนส่วนมากในสังคมเป็นเป้าหมายเพียง ประการเดียว ในหลักของอรรถประโยชน์ต้องมีการคานวณความสุขและการชั่งน ้าหนักความสุขความ ทุกข์ ขบวนการทางกฎหมายโดยนักกฎหมายที่เป็นวิศวกรนั้น ไม่อาจคานวณความสุขความทุกข์นั้นได้ หมดจด เพราะความต้องการของแต่ละบุคคลนั้นไม่เท่ากัน การปรับหรือการประสานผลประโยชน์จึง จาต้องอาศัยอานาจแห่งกฎหมายเพื่อที่จะอนุญาตหรือบังคับแม้กระทั้งลงโทษให้ได้รับความทุกข์ ความถูกผิดทางศีลธรรมไม่อาจคานวณได้จากกฎหมาย เพียงแค่ต้องการผลประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับ สังคมคนหมู่มากที่สุดตามแนวทางของอรรถประโยชน์ ที่เป็นต้นแบบของวิศวกรรมสั งคมก็เพียง พอที่จะปรับลาดับขั้นของประโยชน์ให้สมดุลกันได้ในที่สุดเป็นพื้นฐานทางกฎหมายที่พัฒนาโดย กระบวนการยุติธรรม และต้องมีการตรวจสอบสิ่งที่ผู้ร่างกฎหมาย ผู้พิพากษา และหน่วยงานบริการ เรียกร้องหรือกดดันให้ยอมรับและรักษาความปลอดภัย เรื่องผลประโยชน์หากจัดเป็นเรื่องสาธารณะ ถือเป็นความต้องการหรือความปรารถนาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้คนในสังคมการเมืองแบบดั้งเดิมและ องค์กรทางการเมืองโดยคานึงถึงองค์กรและผลประโยชน์ของรัฐในฐานะผู้พิทักษ์ ในสังคมอารยะ แนวคิดเรื่องผลประโยชน์ทางสังคม เป็นสิ่งสาคัญสาหรับการรักษาความสามัคคีและความก้าวหน้า ตั้งแต่นโยบายสาธารณะไปจนถึงความต้องการของแต่ละบุคคล กฎหมายมีบทบาทสาคัญในการ รับประกันว่าผลประโยชน์ทางสังคมได้รับการคุ้มครองและจัดลาดับความสาคัญ เมื่อสังคมพัฒนาไป ระบบกฎหมายก็ต้องปรับตัวให้ทันกับพลวัตที่เปลี่ยนแปลงไป วิศวกรรมสังคม ตามที่ปอนด์เสนอ เน้น ถึงความสาคัญของการสร้างสมดุลระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวและสาธารณะเพื่อประโยชน์ของสังคม โดยคานึงถึงความสุขและความทุกข์ของบุคคล สามารถใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการส่งเสริม ผลประโยชน์ทางสังคมและตอบสนองความต้องการของชุมชนโดยรวมได้ ท้ายที่สุดแล้ว เป้าหมายของ วิศวกรรมสังคมคือการสร้างระบบที่เพิ่มผลประโยชน์สูงสุดให้กับคนส่วนใหญ่ ขณะเดียวกันก็ยอมรับความ ซับซ้อนและความหลากหลายของความต้องการของแต่ละบุคคล (มานิตย์ กลางขอนนอก, 2564)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3