2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ

131 (5) พยาน ผู้ชานาญการพิเศษ และล่าม (6) พนักงานคุมประพฤติหรือพนักงานอื่นของสถานพินิจ (7) บุคคลอื่นที่ศาลเห็นสมควรอนุญาต มาตรา 109 บัญญัติไว้ว่า “ ถ้าศาลที่มีอานาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวเห็นว่าจาเลย ไม่ควรฟังคาให้การของพยานในตอนหนึ่งตอนใด ศาลมีอานาจสั่งให้จาเลยออกไปนอกห้องพิจารณาได้ แต่เมื่อศาลสั่งให้จาเลยกลับเข้ามาฟังการพิจารณา ให้ศาลแจ้งข้อความที่พยานเบิกความไปแล้วให้ จาเลยทราบเท่าที่ศาลเห็นสมควร ” มาตรา 110 บัญญัติไว้ว่า ในการพิจารณาคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็นจาเลย ถ้าศาลที่มี อานาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวเห็นสมควรที่จะพูดกับจาเลยโดยเฉพาะ หรือเห็นว่าบุคคล บางคนไม่ควรอยู่ในห้องพิจารณา ศาลมีอานาจสั่งให้บุคคลทั้งหมดหรือบุคคลที่ศาลเห็นว่าไม่ควรอยู่ใน ห้องพิจารณาออกไปนอกห้องพิจารณาได้ 2.7.1.3 กฎหมายที่เกี่ยวกับการฟังคาพิพากษาในคดีอาญา ในขั้นตอนการฟังคาพิพากษาในคดีอาญา ได้มีการกาหนดหลักเกณฑ์ไว้ในประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญามาตรา 182 กล่าวคือ ในคดีที่อยู่ในระหว่างไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ถ้ามีคาร้องระหว่างพิจารณาขึ้นมา ให้ศาลสั่งตามที่เห็นควร เมื่อการพิจารณาเสร็จแล้ว ให้พิพากษา หรือสั่งตามรูปความ และให้อ่านคาพิพากษาหรือคาสั่งในศาลโดยเปิดเผยในวันเสร็จการพิจารณา หรือ ภายในเวลาสามวันนับแต่เสร็จคดี ถ้ามีเหตุอันสมควร จะเลื่อนไปอ่านวันอื่นก็ได้ แต่ต้องจดรายงาน เหตุนั้นไว้ โดยเมื่อศาลอ่านให้คู่ความฟังแล้ว ให้คู่ความลงลายมือชื่อไว้ ถ้าเป็นความผิดของ โจทก์ที่ไม่มา จะอ่านโดยโจทก์ไม่อยู่ก็ได้ ในกรณีที่จาเลยไม่อยู่ โดยไม่มีเหตุสงสัยว่าจาเลยหลบหนีหรือ จงใจไม่มาฟัง ก็ให้ศาลรอการอ่านไว้จนกว่าจาเลยจะมาศาล แต่ถ้ามีเหตุสงสัยว่าจาเลยหลบหนีหรือจง ใจไม่มาฟัง ให้ศาลออกหมายจับจาเลย เมื่อได้ออกหมายจับแล้วไม่ได้ตัวจาเลยมาภายในหนึ่งเดือน นับ แต่วันออกหมายจับ ก็ให้ศาลอ่านคาพิพากษาหรือคาสั่งลับหลังจาเลยได้ และให้ถือว่าโจทก์หรือจาเลย แล้วแต่กรณี ได้ฟังคาพิพากษาหรือคาสั่งนั้นแล้ว ส่วนในกรณีที่คาพิพากษาหรือคาสั่งต้องเลื่อนอ่านไปโดยขาดจาเลยบางคน ถ้าจาเลย ที่อยู่จะถูกปล่อย ให้ศาลมีอานาจปล่อยชั่วคราวระหว่างรออ่านคาพิพากษาหรือคาสั่งนั้น ในศาลเยาวชนและครอบครัวได้บัญญัติเรื่องการฟังคาพิพากษาไว้เฉพาะ ดังนี้ การพิพากษา ตามมาตรา 131 แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและวิธีพิจารณาคดี เยาวชน พ.ศ. 2553 บัญญัติไว้ว่า “ ในกรณีที่ได้มีการสืบเสาะข้อเท็จจริงตามมาตรา 36(1) ศาลที่มี อานาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวจะพิพากษาลงโทษหรือใช้วิธีการสาหรับเด็กและเยาวชนได้ ต่อเมื่อได้รับทราบรายงานและความเห็นจากผู้อานวยการสถานพินิจตามมาตรา 82(2) หรือมาตรา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3