2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ

132 116 หรือมาตรา 117 แล้ว และถ้าผู้อานวยการสถานพินิจขอแถลงเพิ่มเติมด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ ให้ศาลรับไว้ประกอบการพิจารณาด้วย” 2.7.2 กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศ 2.7.2.1 อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) กฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นกรอบของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสาหรับเด็ก และเยาวชนที่สาคัญในปัจจุบันและถูกกล่าวถึงเป็นลาดับแรก คือ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยได้รับ ยกย่องให้เป็นเครื่องมือในการประสานการดาเนินงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและ เปลี่ยนแปลงมุมมอง รวมทั้งการปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนทั้งที่ไม่ใช่ผู้กระทาความผิดและเป็นผู้กระทา ความผิด โดยกฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2533 ซึ่งกาหนดให้สิทธิเด็ก เป็นสิทธิมนุษยชนประเภทหนึ่ง อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่จัดทาขึ้นโดยสหประชาชาติ (United Nations) และได้รับการรับรองจากที่ ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ( United Nations General Assembly) ในปี พ.ศ. 2532 มีวัตถุประสงค์เพื่อกาหนดแนวทางอันเป็นมาตรฐานขั้นต ่า สาหรับประเทศต่าง ๆ ในการให้ความคุ้มครองดูแลเด็กที่มีอายุตามเกณฑ์ที่กาหนดได้อย่างเหมาะสม โดยในปัจจุบันมีประเทศจานวน 196 ประเทศเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กประกอบด้วย หลักการสาคัญเกี่ยวกับสิทธิ 4 ด้าน ได้แก่ (1) สิทธิในการมีชีวิตรอด (2) สิทธิที่จะได้รับการปกป้อง คุ้มครอง (3) สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา และ (4) สิทธิในการมีส่วนร่วม วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคี ส่งผลให้เกิด พันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ โดยอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิ เด็กฉบับดังกล่าวสอดคล้องกับ ความพยายามในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิของเด็กในประเทศไทย ซึ่งรวมสิทธิ์ในกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญาสาหรับเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทาความผิดอยู่ด้วย แม้ว่าอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กจะเป็นหลักเกณฑ์ที่กล่าวถึงสิทธิของเด็กในด้านต่าง ๆ ที่มีความ หลากหลาย แต่อนุสัญญาฉบับเดียวกันยังได้กาหนดสิทธิของเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม ทางอาญาไว้เช่นเดียวกัน มีรายละเอียดที่สาคัญดังนี้กฎหมายระหว่างประเทศนี้มีความสาคัญอย่างยิ่ง ในการประกันว่าเด็กและเยาวชนได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรมและยุติธรรม ไม่ว่าพวกเขาจะเป็น ผู้กระทาผิดหรือไม่ก็ตาม มันทาหน้าที่เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติต่อ การปฏิบัติต่อเยาวชน เนื่องจากมี 196 ประเทศเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก จึงเห็นได้ชัดว่า มีความมุ่งมั่นระดับโลกในการส่งเสริมสิทธิเด็กในฐานะสิทธิมนุษยชน การภาคยานุวัติอนุสัญญาของ ประเทศไทยยิ่งตอกย ้าความสาคัญของการปกป้องเด็กในระบบยุติธรรม กรอบการทางานนี้ไม่เพียงแต่ เน้นย ้าถึงสิทธิของเด็กในการอยู่รอด ได้รับการคุ้มครอง พัฒนา และมีส่วนร่วมเท่านั้น แต่ยังรับประกัน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3