2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ

135 (1) ได้รับการสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่ามีความผิดตาม กฎหมาย (2) ได้รับแจ้งข้อหาทันทีและโดยตรง และในกรณีที่เหมาะสมโดยผ่านบิดา มารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย และจะได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายหรือทางอื่นที่เหมาะสมเพื่อการ ตระเตรียมและการสู้คดีของเด็ก (3) ได้รับการตัดสินโดยไม่ชักช้าโดยหน่วยงานหรือองค์กรทางตุลาการที่มีอานาจเป็น อิสระและเป็นกลางในการพิจารณาความอย่างยุติธรรมตามกฎหมาย ทั้งนี้ให้มีความช่วยเหลือทาง กฎหมายหรือทางอื่นที่เหมาะสม เว้นแต่เมื่อพิจารณาเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อเด็ก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อคานึงถึงอายุเด็กหรือสถานการณ์ บิดามารดาหรือผู้ปกครองตามกฎหมาย (4) จะไม่ถูกบังคับให้เบิกความหรือสารภาพผิด สามารถซักถามหรือซักค้าน พยาน และให้พยานของตนเข้ามามีส่วนร่วม และให้มีการซักถามพยานแทนตนภายใต้เงื่อนไขแห่งความเท่า เทียมกัน (5) หากพิจารณาว่าได้มีการฝ่าฝืนกฎหมายอาญาให้การวินิจฉัยหรือมาตรการ โดยที่ ถูกกาหนดโดยผลของการวินิจฉัยนั้น ได้รับการทบทวนโดยหน่วยงานหรือองค์กรทางตุลาการที่มี อานาจเป็นอิสระและเป็นกลางในระดับสูงขึ้นไป (6) ให้ได้รับความช่วยเหลือของล่ามโดยไม่คิดมูลค่าหากเด็กไม่สามารถเข้าใจหรือพูด ภาษาที่ใช้อยู่ (7) ในทุกขั้นตอนของกระบวนการพิจารณาให้เคารพต่อเรื่องส่วนตัวของเด็กอย่าง เต็มที่ 3. รัฐภาคีจะหาทางส่งเสริมให้มีการตรากฎหมายกาหนดกระบวนวิธีพิจารณา จัดตั้ง หน่วยงานและสถาบันซึ่งจะใช้เป็นการเฉพาะกับเด็กที่ถูกกล่าวหา ตั้งข้อหาหรือถูกถือว่าได้ฝ่าฝืน กฎหมายอาญาและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง (ก) การกาหนดอายุขั้นต ่าซึ่งเด็กที่มีอายุต ่ากว่านั้น จะถูกถือว่าไม่มีความสามารถที่ จะฝ่าฝืนกฎหมายอาญาได้ (ข) เมื่อเห็นว่าเหมาะสมและเป็นที่พึงปรารถนาให้กาหนดมาตรการที่จะใช้กับเด็ก เหล่านั้นโดยไม่ต้องอาศัยกระบวนการทางตุลาการ ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขว่าสิทธิมนุษยชนและการ คุ้มครองตาม กฎหมายจะได้รับการเคารพอย่างเต็มที่ จากหลักเกณฑ์ทางกฎหมายข้างต้น สรุปสาระส าคัญซึ่ งเป็นหลั กประกันใน กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสาหรับเด็กและเยาวชนได้เว้นแต่การกระทาดังกล่าวจะเกิดขึ้น เด็กทุก คนที่ถูกกล่าวหาหรือถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนกฎหมายอาญาจะต้องมีหลักประกันดังต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย:

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3