2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ

143 บทที่ 3 วิธีดาเนินการวิจัย การศึกษาและวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการค้นหาคาตอบอันเป็นเป้าหมายหลัก คือ การพัฒนา กฎหมายในการดาเนินกระบวนพิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์ในคดีอาญาของศาลเยาวชนและครอบครัว คาตอบดังกล่าวนี้ย่อมจะมาจากการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการวิจัย ( Research Methodology) ที่กาหนดไว้ ดังนั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์หาคาตอบ จึงได้กาหนด ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยภาคสนาม (Field Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In–depth Interview) ข้อมูลที่ได้จากการใช้วิธีการวิจัยมีวัตถุประสงค์ที่จะนามาวิเคราะห์เพื่อหา แนวทางปรับปรุงและเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหาให้เกิดความยั่งยืน และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อชาวบ้านและไม่ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีรายละ เอียด ดังนี้ 3.1 การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การวิจัยนี้เริ่มด้วยการรวบรวมข้อมูลที่เป็นเอกสาร โดยกาหนดประเภทของเอกสารและ ประเด็นที่ต้องการใช้วิเคราะห์ คือ เอกสาร หนังสือที่เกี่ยวข้อง แนวคิด ทฤษฎี และหลักการ อัน ประกอบไปด้วยรายงานวิจัย ตารา และบทความทั้งที่เป็นภาษาไทยและต่างประเทศรวมทั้งข้อมูล เอกสารที่ ได้มา มีทั้งปฐมภูมิ (Primary data) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) กฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา กฎหมายที่เกี่ยวกับศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและ ครอบครัว ระเบียบของประธานศาลฎีกา 3.2 การวิจัยภาคสนาม (Field Research) การวิจัยภาคสนามเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลมาจากผู้ที่เกี่ยวข้องในการดาเนินกระบวน พิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนวิธีการในการเก็บข้อมูลซึ่งการศึกษานี้กาหนด ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In – depth Interview) 3.2.1 การสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกด้วยการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการ ดาเนินกระบวนพิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ตามประเด็นที่ได้กาหนดไว้ ล่วงหน้า และดาเนินการสัมภาษณ์โดยตรงระหว่างผู้วิจัยกับผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์เป็นแบบไม่มีพิธี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3