2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ
145 3.2.2 ขอบเขตด้านผู้ให้ข้อมูลหลัก ผู้ให้ข้อมูลหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูล ในการสัมภาษณ์เชิงลึกแบ่งเป็น 4 กลุ่ม จานวน 12 คน ประกอบด้วย 1) ผู้พิพากษาในศาลเยาวชนและครอบครัว เนื่องจากผู้พิพากษามีหน้าที่เป็นผู้มีหน้าที่ พิจารณาและพิพากษาคดีจึงเป็นผู้ที่มีความสาคัญในกระบวนการยุติธรรม จานวน 3 คน 2) พนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัว เนื่องจากพนักงานอัยการเป็นผู้มีอานาจหน้าที่ ในการสั่งฟ้องคดี รวมถึงเป็นโจทก์ในการยื่นฟ้องคดี จานวน 3 คน 3) ทนายความหรือที่ปรึกษากฎหมายในคดีเยาวชนและครอบครัว เนื่องจาก ทนายความหรือ ที่ปรึกษากฎหมายในคดีเยาวชนและครอบครัวเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือทางคดีกับคู่ความอันมีบทบาท สาคัญในกระบวนการยุติธรรม จานวน 3 คน 4) ประชาชนที่เกี่ยวข้องในกระบวนพิจารณาโดยอาจเป็นโจทก์หรือจาเลยในคดีที่อยู่ ใน อานาจของศาลเยาวชนและครอบครัวรวมถึงเจ้าหน้าที่ในศาลเยาวชนและครอบครัว จานวน 3 คน 3.2.3 ขอบเขตพื้นที่ผู้ให้ข้อมูล พื้นที่ผู้ให้ข้อมูลแบ่งเป็น 3 พื้นที่ ได้แก่ 1) กรุงเทพมหานคร เนื่องจากเป็นพื้นที่ส่วนกลางในการออกนโยบายต่าง ๆ มาให้ส่วน ภูมิภาคและเป็นพื้นที่ที่มีการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นที่แรก 2) สงขลา เนื่องจากเป็นพื้นที่ส่วนภูมิภาคที่รองรับนโยบายจากส่วนกลางในการใช้ระบบ อิเล็กทรอนิกส์ 3) ยะลา เนื่องจากเป็นพื้นที่ห่างไกลจากจังหวัดสงขลาที่เป็นศูนย์กลางของภาค 9 3.2.4 ประเด็นสัมภาษณ์ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกประกอบด้วย 3 ส่วนมีรายละเอียด ดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ให้สัมภาษณ์ - วัน เวลา และสถานที่สัมภาษณ์ - ตาแหน่งหน้าที่การงาน หน่วยงานที่สังกัด - อายุงาน ส่วนที่ 2 ประเด็นสัมภาษณ์ 1) ท่านคิดว่าในการดาเนินกระบวนพิจารณาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์แตกต่างจากการดาเนิน กระบวนพิจารณาแบบธรรมดาอย่างไรบ้าง 2) ท่านคิดว่าการดาเนินกระบวนพิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร 3) ท่านคิดว่าการดาเนินกระบวนพิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์จะทาให้คู่ความมีความได้เปรียบ เสียเปรียบอย่างไร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3