2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ
152 ในกลุ่มของที่ปรึกษากฎหมาย และกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องในศาลเยาวชนและครอบครัว ยังให้ ความเห็นไปในแนวทางเดียวกันว่าหากทาได้จริงก็จะเป็นการสะดวกต่อผู้รับบริการเป็นอย่างมาก พร้อมทั้ งยังเป็นการประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย และยังทาให้ประชาชนสามารถเข้าถึง กระบวนการยุติธรรมได้ง่ายมากกว่าเดิม โดยสรุป ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ได้มีข้อเสนอแนะไปในแนวทางเดียวกันว่า การยื่นฟ้อง คดีอาญาโดยพนักงานอัยการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถทาได้ และหากกระทาแล้วจะช่วย ให้ขั้นตอนการฟ้องคดีและการไต่สวนมูลฟ้องสะดวกรวดเร็วมากขึ้น รวมทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายและ ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องซึ่งผู้วิจัยเห็นว่า การดาเนินกระบวนพิจารณาทางงอิเล็กทรอนิกส์ ในขั้นตอนการ ยื่นฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการสามารถทาได้ และจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม กรณีผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาซึ่งมีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทาความผิดต่อศาลเยาวชนและ ครอบครัว ได้มีการบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วในพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและ วิธี พิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 99 กาหนดหลักเกณฑ์ในการฟ้องคดีอาญาใน กรณีราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองไว้ว่า “ ห้ามมิให้ผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาซึ่งมีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชน กระทาความผิดต่อศาลเยาวชนและครอบครัว เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้อานวยการสถานพินิ จที่ เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอานาจ ” เห็นได้ว่าในกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาในศาล เยาวชนและครอบครัวเอง จะต้องผ่านกระบวนพิจารณาของผู้อานวยการสถานพินิจมาก่อน กล่าวคือ เมื่อผู้อานวยการสถานพินิจได้รับการร้องขอของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีอาญา ผู้อานวยการสถานพินิจ จะต้องดาเนินการสืบสวนและสอบสวนว่าข้อกล่าวหานั้นมีมูลสมควรอนุญาตให้ผู้เสียหายฟ้องหรือไม่ แล้วแจ้งให้ผู้เสียหายทราบว่าอนุญาตให้ฟ้องหรือไม่อนุญาตให้ฟ้องต่อไป เมื่อกรณีมีบัญญัติไว้เฉพาะ แล้วจึงไม่ต้องนามาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชน และครอบครัว พ.ศ.2553 ประกอบมาตรา 28(2) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามา ปรับใช้ อย่างไรก็ตามกรณีที่ราษฎรยื่นฟ้องเองจะต้องมีการไต่สวนมูลฟ้องก่อนที่จะมีการจะประทับ รับฟ้อง เมื่อพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ไม่ได้กาหนดหลักเกณฑ์ไว้จึงต้องนาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในเรื่องการไต่สวน มูลฟ้องมาใช้ ตามมาตรา 162 วรรคหนึ่ง(1) บัญญัติไว้ว่า ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ให้ไต่สวนมูลฟ้อง และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 165 วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า “ ในคดีราษฎร เป็นโจทก์ ศาลมีอานาจไต่สวนมูลฟ้องลับหลังจาเลย ให้ศาลส่งสาเนาฟ้องแก่จาเลยรายตัวไป กับแจ้ง วันนัดไต่สวนให้จาเลยทราบ จาเลยจะมาฟังการไต่สวนมูลฟ้องโดยตั้งทนายให้ซักค้านพยานโจทก์ด้วย หรือไม่ก็ได้ หรือจาเลยจะไม่มา แต่ตั้งทนายมาซักค้านโจทก์ก็ได้ ห้ามมิให้ศาลถามคาให้การจาเลย และก่อนที่ศาลประทับฟ้องก็มิให้ถือว่าจาเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น” จึงเห็นได้ว่าในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3