2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ

159 โดยมีการนาเทคโนโลยีทางไกลมาใช้กับการพิจารณาคดีอาญาของศาลเยาวชน ในมาตรา 679.5(d) ให้สิทธิเด็กในการเลือกว่าจะใช้เทคโนโลยีทางไกล หรือมาปรากฏตัวที่ศาล เ ทค โ น โ ลยี ทา ง ไ กล ใ น Walfare and Institutions Code (WIC) ปร ะกอบ ไ ปด้ ว ย คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต โทรศัพท์ โทรศัพท์เซลลูลาร์ หรือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างอื่น ตามมาตรา 679.5 (b)(1) ซึ่งเห็นได้ว่า หากเด็กต้องการที่จะใช้เทคโนโลยีในทางไกลในการพิจารณา สามารถใช้ได้ โดยศาลจะคานึงถึงสิทธิของเด็กเป็นสาคัญ และยังสอดคล้องกับหลักประโยชน์สูงสุดของเด็ก ที่จะต้อง มีการคานึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสาคัญ หากเด็กเลือกที่จะใช้เทคโนโลยีทางไกล และไม่ติด เงื่อนไขหรือข้อจากัดอย่างอื่น ศาลเยาวชนอาจอนุญาตให้ใช้กระบวนการพิจารณาโดยใช้เทคโนโลยี ทางไกลได้ จากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ได้แก่ กลุ่มข้าราชการที่เกี่ยวข้องใน กระบวนการ ประกอบด้วย ผู้พิพากษาในศาลเยาวชนและครอบครัว พนักงานอัยการคดีเยาวชนและ ครอบครัว เจ้าหน้าที่บุคลากรในศาลเยาวชนและครอบครัว กลุ่มที่ปรึกษากฎหมาย และกลุ่ม ประชาชนที่เกี่ยวข้องในศาลเยาวชนและครอบครัว ได้ให้ความเห็นไปในแนวทางเดียวกันว่า การสอบ คาให้การจาเลยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถทาได้และจะช่วยอานวยความสะดวก รวดเร็ว ด้วยเหตุที่มีการนาระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในปัจจุบันอยู่บ้างแล้ว แต่ยังไม่เป็นมาตรฐานในกระบวน พิจารณา จึงควรกาหนดเป็นมาตรฐานกลางสาคัญทุกคดีอันจะช่วยให้การพิจารณาดาเนินการไปอย่าง รวดเร็วและ เป็นระบบเดียวกันมากขึ้น ประกอบกับข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์กลุ่ม ตัวอย่างทุกกลุ่ม การดาเนินกระบวนพิจารณาในระบบอิเล็กทรอนิกส์ในส่วนของการสอบคาให้การ จาเลยสามารถทาได้โดยได้มีการใช้อยู่ในปัจจุบันบ้างแล้ว แต่อย่างไรก็ตามการปฏิบัติในปัจจุบันยังไม่มี ข้อกาหนดตั้งมาตรฐานในการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ครอบคลุมถึงขั้นตอนนี้อย่างเป็นลายลักษณ์ อักษร เนื่องจากตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการดาเนินคดีอาญาในระหว่างที่ มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ข้อ 8 ได้กล่าวถึง เฉพาะในกรณีที่จาเลยถูกคุมขัง การสอบคาให้การหากจาเลยไม่คัดค้านให้ดาเนินการโดยวิธีถ่ายทอดภาพและเสียงในลักษณะการ ประชุมทางจอภาพได้เท่านั้น โดยข้อกาหนดดังกล่าว หากเป็นกรณีที่เป็นจาเลยที่ไม่ได้ถูกคุมขัง เช่น กรณีที่จาเลยถูกประกันออกไป หรือกรณีที่จาเลยไม่ได้อยู่ในอานาจศาลจากกรณี คดีที่ราษฎรเป็น โจทก์ฟ้องคดีอาญาแล้วศาลเห็นว่ามีมูลแล้วประทับรับฟ้องไว้พิจารณา ศาลจะนัดจาเลยให้มาสอบ คาให้การในนัดต่อไป โดยในกรณีนี้ เนื่องจากไม่มีข้อกาหนดระบุเรื่องนี้เอาไว้ ซึ่งหากมีการนาระบบ อิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับการสอบคาให้การ ถึงแม้จาเลยจะไม่ได้อยู่ในการ ควบคุมของศาลเพราะใน ขั้นตอนการสอบคาให้การมีสาระสาคัญเพียงว่าจาเลยจะรับสารภาพหรือปฏิเสธเท่านั้น และถึงแม้ จาเลยจะรับสารภาพแต่บางกรณีจะต้องมีการสืบประกอบคารับสารภาพ หรือเลื่อนออกไปฟังคา พิพากษา หรือกรณีปฏิเสธก็ต้องมีการนัดสืบพยานต่อไป หากสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอบ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3