2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ
165 679.5 (g) และ (h) เด็กยังคงมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับจาเลยในคดีอาญาในการเผชิญหน้า และซักค้านพยาน รวมทั้ง ศาลต้องไม่บังคับให้คู่ความปรากฏตัวในระยะไกลด้วย ซึ่งรวมทั้งที่ปรึกษาของเด็ก และพยานในคดีเมื่อเด็กเลือกที่จะใช้เทคโนโลยีทางไกล ทั้งพยาน และที่ปรึกษาของเด็กก็ต้องใช้เทคโนโลยีระยะไกลได้เช่นเดียวกัน ตามมาตรา 679.5 (d) Walfare and Institutions Code (WIC) มีความแตกต่างกับของไทยมากพอสมควร เมื่อ พิจารณาจากข้อ 5. แห่งข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการสืบพยานคดีอาญาในลักษณะ ประชุมทางจอภาพ จะให้ศาลเป็นผู้กาหนดโดยใช้ดุลพินิจของศาลเท่านั้น และต้องเป็นกรณีที่มีเหตุ จาเป็น ซึ่งต่างกับของแคลิฟอร์เนีย ที่ยึดเจตนารมณ์ของเด็กเป็นหลัก จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ได้แก่ กลุ่มข้าราชการที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ อัน ประกอบด้วย ผู้พิพากษาในศาลเยาวชนและครอบครัว พนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัว เจ้าหน้าที่บุคลากรในศาลเยาวชนและครอบครัว กลุ่มที่ปรึกษากฎหมาย และกลุ่มประชาชนที่ เกี่ยวข้องในศาลเยาวชนและครอบครัว ได้ให้ความเห็นไปในแนวทางเดียวกันว่า ในการสืบพยานต้อง มาทาที่ศาลในห้องพิจารณาเท่านั้น หากแต่มีข้อยกเว้นในกรณีสืบพยานประกอบคารับสารภาพ และ จาเลยอยู่ในสถานพินิจหรือถูกคุมขังอยู่ในอานาจของศาลก็สามารถใช้การสืบพยานทางจอภาพได้ โดยในการสืบพยานคดีอาญาสาเหตุไม่ควรนาระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เพื่อช่วยในการ พิจารณาหรือเพิ่มความสะดวกนั้น เนื่องจากคดีอาญาเป็นคดีเกี่ยวกับการกระทาที่ถูกกล่าวหาว่า กระทาความผิดและอาจต้องได้รับผลร้ายบางอย่างตามที่กฎหมายกาหนด ซึ่งการสืบพยานต่อหน้าใน ห้องพิจารณาจะช่วยอานวยความยุติธรรมได้มากกว่าการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพราะจะทาให้ศาล เห็นอากัปกิริยาของตัวพยานได้อย่างชัดเจน ว่ามีการโกหกหรือไม่ เพราะในการเบิกความในห้อง พิจารณา หากตัวพยานโกหกหรือมีท่าทีในการไม่ได้พูดความจริง ผู้พิพากษาจะสามารถจับสังเกตได้ ถึงแม้จะมีตัวอย่างในต่างประเทศอย่างเช่นของรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ตาม Walfare and Institutions Code (WIC) จะสามารถนาเทคโนโลยีทางไกลมาใช้กับการพิจารณาคดีในศาลเยาวชน ได้แต่ก็ยังมีเงื่อนไขที่เป็นรายละเอียดแตกต่างกับประเทศไทยมากพอสมควร และในประเทศไทย ประกอบกับหลักเกณฑ์ในการสืบพยานเด็ก หรือ ผู้เยาว์ ที่จะต้องมีนักจิตวิทยา บุคคลที่เด็กร้องขอที่ จะอยู่กับเด็กในห้องพิจารณา ซึ่งหากให้นาระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในขั้นตอนการสืบพยานจะเป็น การเพิ่มภาระให้กับทางบุคคลที่เกี่ยวข้องมากขึ้น เช่น นักจิตวิทยา และ บุคคลที่เด็กร้องขอจะต้อง เดินทางไปอยู่กับเด็กหรือผู้เยาว์ หากนาการสืบพยานทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้จึงไม่เหมาะสมและไม่ สอดคล้องกับกระบวนพิจารณาในการค้นหาความจริงในประเทศไทย การฟังคาพิพากษา การฟังคาพิพากษาตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชน และครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 135 ได้กาหนดหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะแล้ว กล่าวคือ การอ่านคา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3