2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ
168 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผล การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาของการดาเนินกระบวนพิจารณาทาง อิเล็กทรอนิกส์ในคดีอาญาในศาลเยาวชนและครอบครัว ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการดาเนินกระบวนพิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์ในคดีอาญาในศาลเยาวชนและครอบครัว รวมทั้ง เพื่อพัฒนากฎหมายที่ใช้ในการดาเนินกระบวนพิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์ในคดีอาญาในศาลเยาวชน และครอบครัว จากการศึกษาและวิเคราะห์พบข้อจากัดในการนาเอาระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในกระบวน พิจารณาในคดีอาญาของศาลเยาวชนและครอบครัว โดยทั้งในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 และ ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการสืบพยานในลักษณะการประชุมทางจอภาพ พ.ศ. 2556 พบว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายเพื่อนาระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในกระบวนการของคดีอาญาในศาลเยาวชน และครอบครัวยังไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคที่ที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าเป็น อย่างมาก ผู้วิจัยมีความเห็นว่า แม้ในปัจจุบันจะมีการอนุโลมให้นาระบบอิเลิกทรอนิกส์มาใช้ในบาง ขั้นตอนของกระบวนพิจารณาคดีอาญาในศาลเยาวชนและครอบครัว แต่ก็เป็นในลักษณะขึ้นอยู่กับ ดุลพินิจของศาลเท่านั้น นอกจากนั้นศาลในแต่ละแห่งก็มีการใช้ดุลยพินิจที่แตกต่างกัน และแม้จะมี กฎหมายออกมาบังคับใช้เพื่อแก้ปัญหาในช่วงที่เกิดสถานการณ์โรคระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ Covid-19 แต่กฎหมายดังกล่าวยังก่อให้เกิดปัญหา อุปสรรค หรือช่องว่างของกฎหมาย บางประการ ในงานวิจัยนี้ได้นา แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา สื่อ อิเล็กทรอนิกส์ แผนยุทธศาสตร์ของศาลยุติธรรม รวมทั้ ง Walfare and Institutions Code (WIC) ของมลรั ฐแคลิ ฟอร์ เนี ย ประ เทศ สหรัฐอเมริกา มาใช้เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและนาไปสู่ข้อเสนอแนะ 5.2 อภิปรายผล จากการวิเคราะห์การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในคดีอาญาในศาลเยาวชนและครอบครัวใน ประเทศไทย ผู้วิจัยพบปัญหาซึ่งแยกอภิปรายได้ตามลาดับ ดังนี้ 1. การยื่นฟ้องและการไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3