2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ
169 จากการศึกษาพบว่า ในขั้นตอนการยื่นฟ้องคดีอาญา แบ่งออกได้เป็น 2 กรณีคือ กรณี พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดี และราษฎรเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดี ประการแรก กรณีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดี หลักเกณฑ์ในการนาคดีอาญามาฟ้อง ต่อศาลเยาวชนและครอบครัวของอัยการ จะต้องมีการนาตัวจาเลยมาศาลพร้อมกับคาฟ้อง ซึ่งในทาง ปฏิบัติทางพนักงานอัยการจะมีการส่งคาฟ้องมาให้กับเจ้าพนักงานที่นาคาฟ้องมายื่นต่อศาล โดยในคดี เยาวชนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทาความผิดอาญา จาเลยจะอยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่หรือสถาน พินิจ หรือได้รับการประกันตัวจากผู้ปกครองโดยหากประกันตัว ในวันฟ้องผู้ปกครองต้องเป็นฝ่ายนา ตัวจาเลยมาที่ศาลพร้อมกับผู้ปกครอง ดังนั้นในส่วนของการยื่นคาฟ้องคดีอาญา กรณีพนักงานอัยการ เป้นโจทก์ยื่นฟ้องคดีเอง ประเด็นนี้จากการศึกษาพบว่าในการที่อนุญาตให้มีการฟ้องคดีอาญาผ่าน ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในศาลเยาวชนและครอบครัวพร้อมกับพิจารณาประกอบกับหลักในการพิจารณา ของศาลที่ต้องพิจารณาด้วยความรวดเร็วและเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 68 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติไว้ว่า รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการ ยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติและให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรมด้วยความสะดวก รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร จึงสะท้อนให้เห็นว่า เป็นหน้าที่ ของรัฐในการดาเนินการตามเจตนารมณ์ของกฎหมายให้เป็นรูปธรรม การนาระบบอิเล็กทรอนิกส์มา ใช้ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นในการยื่นฟ้องคดีอาญาสอดรับกับเจตนารมณ์ของรัฐ จึงเห็นสมควรกาหนด หลักเกณฑ์ในการยื่นฟ้องคดีอาญา โดยออกเป็นลักษณะของกฎหมายที่ให้สามารถยื่นฟ้องคดีอาญา ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ ประการที่สองกรณีราษฎรเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดี ผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาซึ่งมีข้อหาว่าเด็กหรือ เยาวชนกระทาความผิดต่อศาลเยาวชนและครอบครั ว ได้มีการบัญญัติ ไว้ โดยเฉพาะแล้ วใน พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 99 กาหนดหลักเกณฑ์ในการฟ้องคดีอาญาในกรณีราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองไว้ว่า “ ห้ามมิ ให้ผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาซึ่งมีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทาความผิดต่อศาลเยาวชนและครอบครัว เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้อานวยการสถานพินิจที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอานาจ ” เห็นได้ว่า ในกรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาในศาลเยาวชนและครอบครัวเอง จะต้องผ่านกระบวน พิจารณาของผู้อานวยการสถานพินิจมาก่อน กล่าวคือ เมื่อผู้อานวยการสถานพินิจได้รับการร้องขอ ของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีอาญา ผู้อานวยการสถานพินิจจะต้องดาเนินการสืบสวนและสอบสวนว่าข้อ กล่าวหานั้นมีมูลสมควรอนุญาตให้ผู้เสียหายฟ้องหรือไม่ แล้วแจ้งให้ผู้เสียหายทราบว่าอนุญาตให้ฟ้อง หรือไม่อนุญาตให้ฟ้องต่อไป เมื่อกรณีมีบัญญัติไว้เฉพาะแล้วจึงไม่ต้องนามาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติ ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2553ประกอบมาตรา 28(2) แห่งประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาปรับใช้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3