2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ
10 เมื่อผ่านกระบวนการฟ้องคดี ในขั้นตอนต่อไป คือ การพิจารณาคดีอาญา ในศาลเยาวชนและ ครอบครัวโดยการพิจารณาคดีอาญาในศาลเยาวชนและครอบครัวมีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศาล เยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ดังต่อไปนี้ ในการพิจารณาคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็นจาเลยให้กระทาในห้องที่มิใช่ห้องพิจารณาคดี ธรรมดา แต่ถ้าไม่อยู่ในวิสัยที่จะกระทาได้ ให้พิจารณาคดีในห้องสาหรับพิจารณาคดีธรรมดา แต่ต้อง ไม่ปะปนกับการพิจารณาคดีธรรมดาตามมาตรา 107 และในมาตรา 108 การพิจารณาคดีในศาลที่มี อานาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวให้กระทาเป็นการลับ และเฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดี เท่านั้นมีสิทธิเข้าฟังการพิจารณาคดีได้ ซึ่งได้แก่ จาเลย, ที่ปรึกษากฎหมายของจาเลย, ผู้ควบคุมของ จาเลย, บิดา, มารดา, ผู้ปกครองหรือบุคคลซึ่งจาเลยอาศัยอยู่ด้วย, พนักงานศาล, เจ้าหน้าที่รักษา ความปลอดภัย, โจทก์, ทนายโจทก์, พยาน, ผู้ชานาญการพิเศษ, ล่าม, พนักงานคุมประพฤติ, พนักงาน อื่นของสถานพินิจ และ บุคคลอื่นที่ศาลเห็นสมควรอนุญาต ต่อมาถ้าศาลที่มีอานาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวเห็นว่าจาเลยไม่ควรฟังคาให้การ ของพยานในตอนหนึ่งตอนใด ศาลมีอานาจสั่งให้จาเลยออกไปนอกห้องพิจารณาได้ แต่เมื่อศาลสั่งให้ จาเลยกลับเข้ามาฟังการพิจารณา ให้ศาลแจ้งข้อความที่พยานเบิกความไปแล้วให้จาเลยทราบเท่าที่ ศาลเห็นสมควรตามมาตรา 109 และในมาตรา 110 ในการพิจารณาคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็น จาเลย ถ้าศาลที่มีอานาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวเห็นสมควรที่จะพูดกับจาเ ลยโดยเฉพาะ หรือเห็นว่าบุคคลบางคนไม่ควรอยู่ในห้องพิจารณา ศาลมีอานาจสั่งให้บุคคลทั้งหมดหรือบุคคลที่ศาล เห็นว่าไม่ควรอยู่ในห้องพิจารณาออกไปนอกห้องพิจารณาได้ จากบทบัญญัติในมาตรา 107, 108, 109 และ 110 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชน และครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ในส่วนการพิจารณาจะเห็นได้ว่า จะต้องพิจารณาในห้องพิจารณาเท่านั้น ไม่ได้มีการกาหนดให้มีการเข้าร่วมการพิจารณาโดยอาศัย ระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาช่วยในการพิจารณาและเมื่อพิจารณาประกอบกับกฎหมายฉบับอื่นไม่ว่าจะ เป็นข้อกาหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 หรือ ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการสืบพยานคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพ พ.ศ. 2556 ก็ไม่ได้มีการบัญญัติให้ใช้กับศาลเยาวชนและครอบครัว การพิพากษาในศาลเยาวชนและครอบครัวได้กาหนดหลักเกณฑ์ไว้ใน มาตรา 131 แห่ง พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและวิธีพิจารณาคดีเยาวชน พ.ศ. 2553 บัญญัติไว้ว่า “ ในกรณีที่ได้มีการ สืบเสาะข้อเท็จจริงตามมาตรา 36(1) ศาลที่มีอานาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวจะพิพากษา ลงโทษหรือใช้วิธีการสาหรับเด็กและเยาวชนได้ต่อเมื่ อได้รับทราบรายงานและความเห็นจาก ผู้อานวยการสถานพินิจตามมาตรา 82(2) หรือมาตรา 116 หรือมาตรา 117 แล้ว และถ้าผู้อานวยการ สถานพินิจขอแถลงเพิ่มเติมด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือให้ศาลรับไว้ประกอบการพิจารณาด้วย” รวมไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3