2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ
11 ถึงเมื่อพิจารณาประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในการฟังคาพิพากษา ไม่ได้มี การกาหนดให้มีการฟังคาพิพากษาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ จากกระบวนการต่าง ๆ ในข้างต้นตั้งแต่กระบวนการก่อนฟ้องคดี การฟ้องคดี การพิจารณา และการพิพากษาในคดีอาญาของศาลเยาวชนและครอบครัวไม่ได้มีการนาระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ สาเหตุหลัก คือ ไม่มีกฎหมายให้อานาจในการนาวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับศาล เยาวชนและครอบครัว เช่น ในการพิจารณาข้อกาหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการพิจารณาคดี ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นข้อกาหนดล่าสุดของศาลยุติธรรม โดยในข้อกาหนดดังกล่าวได้ ออกโดยอาศัยอานาจตามความในมาตรา 34/1 มาตรา 51 วรรคสอง และมาตรา 68 แห่งประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่อาจนาคดีอาญามาใช้ได้ และหากพิจารณาข้อบังคับของประธาน ศาลฎีกาว่าด้วยการสืบพยานคดีอาญาในลักษณะการประชุมทางจอภาพ พ.ศ. 2556 ซึ่งอาศัยอานาจ ตามความในมาตรา 230/1 วรรคหนึ่งแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ถึงแม้ข้อบังคับ ดังกล่าวจะอ้างอานาจจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแต่ก็ไม่ได้กาหนดให้ใช้กับ คดีอาญาในศาลเยาวชนและครอบครัวไม่ได้ให้อานาจในการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตามเมื่อได้ศึกษาในส่วนของศาลยุติธรรม ซึ่งปัจจุบันคู่ความสามารถดาเนินกระบวน พิจารณาได้โดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ศาลจัดทาขึ้นมามี 2 ระบบ ได้แก่ ระบบบริการข้อมูลคดี (CIOS) เป็นระบบบริการข้อมูลคดีวันนัดพิจารณา ตรวจสอบผลการส่ง หมายและคาสั่งศาลผ่านอินเตอร์เน็ต และระบบยื่นคาฟ้องอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) เป็นระบบที่ใช้ใน การยื่นคาฟ้องอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ประชาชน ทนาย หรือ อัยการสามารถยื่นคาฟ้องได้โดยไม่ต้อง เดินทางมาศาล ในส่วนช่วยการพิจารณาศาลยุติธรรมได้นาระบบ Google Meet หรือระบบการประชุมผ่าน เว็บหรือวิดีโอทางออนไลน์มาใช้ในส่วนการพิจารณาคดีไม่มีข้อพิพาท คดีฝ่ายเดียว พบเห็นได้จากคดี ร้องขอจัดการมรดกโดยไม่มีข้อพิพาท หรือในกรณีคดีอาญาที่จาเลยถูกคุมขังอยู่ในเรือนจาศาล ยุติธรรมจะใช้ระบบดังกล่าวนี้ในการสอบถามคาให้การจาเลย และอ่านคาพิพากษาให้จาเลยฟัง ด้วยเหตุนี้หากสามารถนาระบบที่ศาลยุติธรรมได้ใช้อยู่ในปัจจุบันมาปรับใช้กับขั้นตอนในศาล เยาวชนและครอบครัวในขั้นตอนการฟ้องคดี การพิจารณา และการพิพากษาได้ ก็จะทาให้เพิ่ม ทางเลือกให้กับประชาชนและลดความยุ่งยากซับซ้อนในคดีความ ทั้งยังช่วยให้เพิ่มความสะดวกในการ ทางานให้กับทุกฝ่ายได้ เมื่อศึกษางกฎหมายต่างประเทศในการนาระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับคดีอาญาของเด็ก เช่น ในสหรั ฐอเมริกา รั ฐแคลิฟอร์ เนีย Welfare and Institutions Code (WIC) section 679.5 ได้ กาหนดให้มีการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการพิจารณาคดีอาญา โดยให้เด็กเป็นผู้มีสิทธิเลือกว่าจะใช้ การพิจารณาแบบระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือการใช้เทคโนโลยี หรือการมาปรากฎกายที่ศาลเยาวชน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3