2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ
12 ดังนั้นในอนาคตหากจะสามารถพัฒนากฎหมายการดาเนินคดีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ เพิ่มประสิทธิภาพและทางเลือกให้กับประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น ผู้พิพากษา อัยการ หรือ ทนายความจึงจะเป็นการพัฒนากระบวนการยุติธรรมในศาลเยาวชนและครอบครัวให้ตอบสนองต่อ สภาพการณ์ปัจจุบัน ทั้งยังเป็นการนาเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันจะส่งผลต่อการ อานวยความยุติธรรมให้กับคู่ความและบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.2.1 เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาของการดาเนินกระบวนพิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์ ใน คดีอาญาในศาลเยาวชนและครอบครัว 1.2.2 เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินกระบวนพิจารณาทาง อิเล็กทรอนิกส์ในคดีอาญาในศาลเยาวชนและครอบครัว 1.2.3 เพื่อพัฒนากฎหมายที่ใช้ในการดาเนินกระบวนพิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์ในคดีอาญา ในศาลเยาวชนและครอบครัว 1.3 คาถามวิจัย การนาระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในกระบวนพิจารณาในคดีอาญาในศาลเยาวชนและ ครอบครัวควรมีในขั้นตอนใด และกฎหมายควรพัฒนาให้รองรับอย่างไร 1.4 สมมติฐานของการวิจัย ในประเทศไทยได้มีการนาระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับขั้นตอนต่าง ๆ ในการดาเนินกระบวน พิจารณา ซึ่งทาให้เกิดความสะดวกกับประชาชนมากขึ้น ปรับตัวได้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบันเป็น อย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามสาหรับศาลเยาวชนและครอบครัวการนาระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ยัง ไม่มี ข้อบังคับหรือกฎหมายอนุญาตให้ใช้ ซึ่งทาให้ปราศจากความชัดเจนว่าสามารถใช้ได้หรือไม่ หรือหาก ใช้ได้จะใช้ได้เพียงใด ครอบคลุมถึงคดีประเภทไหน มีข้อจากัดอย่างไร ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าควร จะมี ข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์ให้ชัดเจน สาหรับคดีครอบครัวในศาลเยาวชนและครอบครัวผู้วิจัยเห็นว่าควร ใช้เหมือนกับศาลยุติธรรม ที่นาระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ โดยควรเริ่มตั้งแต่ การยื่นฟ้อง การไกล่เกลี่ย การนัดชี้สองสถาน การกาหนดประเด็นข้อพิพาท การสืบพยาน หรือเรียกรวมกันว่าการพิจารณา การ ฟังคาพิพากษา รวมทั้งควรนามาใช้ในคดีอาญาและคดีครอบครัวของศาลเยาวชนและครอบครัว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3