2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ
14 บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในบทนี้ เป็นการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายซึ่งประกอบ ไปด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการ การทบทวนเอกสาร กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศและกฎหมายประเทศไทย รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินกระบวน พิจารณาทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 2.1 แนวคิดเกี่ยวกับศาลเยาวชนและครอบครัว 2.2 หลักนิติธรรม 2.3 แนวคิดทฤษฎีและการดาเนินคดีในศาลเยาวชนและครอบครัว 2.4 สื่ออิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ 2.5 แผนยุทธศาสตร์ศาลยุติธรรม พ.ศ. 2565 - 2568 2.6 แนวคิดวิศวกรรมสังคม 2.7 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิดเกี่ยวกับศาลเยาวชนและครอบครัว เมื่อโลกในปัจจุบันได้มีการเจริญก้าวหน้าขึ้นในทุกด้าน พร้อมกับจานวนประชากรที่เพิ่มมาก ขึ้นในทุกปี ทาให้ปัญหาสังคมเกิดมีมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของปัญหาของเด็กและเยาวชนได้ กลายเป็นปัญหาสาคัญของทุกประเทศ ประกอบกับในปัจจุบันมีองค์กรต่าง ๆ ที่ได้มีการรวมตัวกันเพื่อ ทาการเผยแพร่แนวความคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และได้มีการเรียกร้องให้ทางรัฐบาลของประเทศ ต่าง ๆ นั้นหันกลับมาแก้ไขกฎเกี่ยวกับสิทธิเด็กอย่างจริงจังมากขึ้น จึงเป็นเหตุให้มีการ ผลักดันให้ องค์การสหประชาชาติได้มีการลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on The Right of Child) เป็นอนุสัญญาที่ถือได้ว่า เด็กนั้นเป็นบุคคลที่มีศักดิ์และศรีและมีสิทธิเท่าเทียมกันในฐานะที่เป็น มนุษย์เหมือนกัน และจากการตื่นตัวนี้ทาให้เห็นความสาคัญของเด็กและเร่งเร้าทาให้มีการแก้ไขปัญหา เกี่ยวกับเด็กอย่างจริงจัง จึงทาให้นาไปสู่การแก้ไขปรับปรุงในเรื่องกฎหมายและขบวนการยุติธรรมที่ เกี่ยวกับเด็กด้วย ประเทศที่เจริญทางเศรษฐกิจ เช่น อเมริกา ได้เป็นผู้นาในการปรับปรุงดังกล่าวโดย รวมศาลคดีเด็กและเยาวชนกับศาลครอบครัวเป็นศาลเดียวกัน เรียกว่า "ศาลครอบครัว (ของไทยเรียก ศาลเยาวชนและครอบครัว) เพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับความสัมพันธ์ของ เด็กและเยาวชน และให้ คุ้มครองสิทธิของเด็ก รวมทั้งมุ่งแก้ไขเด็กมากกว่าการลงโทษ ด้วย เจตนารมณ์ต่อไปนี้ในโลกที่ ก้าวหน้าไปทุกด้าน จานวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทาให้เกิดปัญหาสังคมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาที่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3