2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ

41 อย่างไรก็ดีแนวคิดเกี่ยวกับประโยชน์สูงสุดสาหรับเด็กยังอาจถูกโต้แย้งว่ามีลักษณะที่เป็น นามธรรม กล่าวคือ จะเห็นได้ว่าหลักการดังกล่าวถือเป็นองค์ประกอบรวมหรือผลรวมอันเกิดจากการ กระทาทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เช่น การเลี้ยงดูที่เหมาะสม การมีอิสระและเสรีภาพ จนถึงการได้รับ การพัฒนาในด้านต่าง ๆ ที่นาไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งผลให้แนวปฏิบัติขาดความชัดเจน โดยการ นาหลักประโยชน์สูงสุดของเด็กไปใช้มักเป็นกรณีที่มีการพิจารณาเกี่ยวกับสภาวะความเป็นเด็ก (Childhood) โดยอธิบายถึงสภาพลักษณะ ความเป็นเด็กในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความอ่อนแอ บอบบาง ความต้องการการเลี้ยงดู ซึ่งมีลักษณะแห่งการพึ่งพิงไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไร้ ความสามารถ ต้องการการปกป้องคุ้มครองจากผู้ใหญ่ ตลอดจนทัศนะคติที่ว่าเด็กมีความบริสุทธิ์ไร้ เดียงสา ซึ่งแนวปฏิบัติดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่สภาพหรือสภาวะแห่งความเป็นเด็กมากกว่าที่จะกล่าวถึงตัว เด็ก (The Child) และความต้องการที่แท้จริงของเด็ก ซึ่งในความเป็นจริงแล้วหากพิจารณาความเป็น เด็ก เมื่อพิจารณาในลักษณะของความเป็นปัจเจกบุคคลหรือผู้กระทาต่อสังคม (Social Actor) แล้ว จะมองในแง่หนึ่งว่าเด็กจะมีลักษณะที่บ่งบอกถึงการถูกสร้างขึ้นจากสังคม ( Socially Constructed) กระบวนการทางสังคม (Social Process) ตลอดจนบริบทแวดล้อมของสังคม ไม่ว่าจะเป็นทั้งจาก ผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ หรือผู้มีอานาจในสังคม โดยใช้วิธีกาหนด ควบคุม ครอบงาว่าสิ่งใดคือสิ่งที่เด็ก ต้องการหรือเหมาะสมกับเด็ก รวมไปถึงการกาหนดคุณค่าเฉพาะตัวของเด็ก ตลอดจนแบบแผน พฤติกรรมที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงความเป็นเด็ก โดยมีการแยกความเป็นเด็กออกจากความเป็นผู้ใหญ่อย่าง ชัดเจน (Adulthood) จนเด็กกลายเป็นผลผลิตทางสังคม (Social Production) ด้วยเหตุนี้ การ พิจารณาถึงความต้องการของเด็กเพื่อนาไปสู่ประโยชน์สูงสุดของ เด็กจึงมีขอบเขตที่กว้างจนไม่ สามารถพิจารณาจากมุมใดมุมหนึ่งได้โดยเฉพาะเจาะจงแนวคิดเรื่องผลประโยชน์สูงสุดของเด็กนั้นเป็น หลักการที่ซับซ้อนและหลากหลายซึ่งครอบคลุมการพิจารณาที่หลากหลาย แม้ว่ามักถูกมองว่าเป็น ผลรวมของการกระทาที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เช่น การดูแลอย่างเหมาะสม ความเป็นอิสระ และเสรีภาพ แต่แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับหลักการนี้อาจขาดความชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงสภาพ ในวัยเด็ก ซึ่งมักมีลักษณะเฉพาะคือความอ่อนแอ ความเปราะบาง และความจาเป็นในการปกป้อง เด็กถูกมองว่าต้องพึ่งพาอาศัยและต้องการคาแนะนา โดยเชื่อว่าพวกเขาบริสุทธิ์และไร้เดียงสา อย่างไร ก็ตาม เมื่อเรามองว่าวัยเด็กเป็นแนวคิดที่สังคมสร้างขึ้นและสร้างขึ้นจากสังคม จะเห็นได้ชัดว่าความ ต้องการของเด็กไม่สามารถจัดหมวดหมู่หรือกาหนดได้ง่าย จาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาถึงคุณ ค่าที่เป็นเอกลักษณ์และความเป็นปัจเจกของเด็กแต่ละคนเพื่อที่จะกระทาการเพื่อประโยชน์สูงสุดของ พวกเขาอย่างแท้จริง ท้ายที่สุดแล้ว แนวคิดเรื่องผลประโยชน์สูงสุดของเด็กไม่ใช่หลักการเดียวสาหรับ ทุกคน แต่เป็นกรอบการทางานที่ซับซ้อนและซับซ้อนซึ่งต้องพิจารณาอย่างรอบคอบจากมุมมองที่ หลากหลาย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3