2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ

52 น้อยกว่าผู้ใหญ่ปกติ (Less Mature) มีความตระหนักรู้ถึงผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อลงมือ กระทาความผิดที่ น้อยกว่าบุคคลทั่วไป (Less Awareness) ดังนั้น กระบวนการในการแก้ไขพฤติกรรมที่ฝ่าฝืน ต่อ กฎหมายจึงไม่อาจใช้กระบวนการยุติธรรมทางอาญาทั่วไปได้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 เป็นต้นมา ประเทศไทยได้พัฒนากระบวนการยุติธรรมทางอาญา สาหรับเด็ก และเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปัจจุบัน ประเทศไทยมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติ ศาลเยาวชนและ ครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ขึ้น กฎหมายฉบับ ดังกล่าวให้อานาจหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว (Juvenile and Family Court) สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและ เยาวชน (Juvenile Observation and Protection Center) ศูนย์ ฝึ กและอบรมเด็ กและ เ ยาวชน ( Vocational Training Center) สถานศึ กษา ( Educational Institution) เพื่ อใช้ ในการแก้ ไข ฟื้ นฟู และ ปรั บเปลี่ ยนพฤติ กรรมอั นฝ่ าฝื นต่ อกฎหมาย (Rehabilitate) รวมทั้งยังกาหนดมาตรการต่าง ๆ ให้หน่วยงาน ข้างต้นได้เลือกใช้เพื่อให้วัตถุประสงค์ ของการมีกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสาหรับเด็กและเยาวชนลุล่วงไปได้(ปพนธีร์ ธีระพันธ์, 2565) 2.1.11 ความเป็นมาของแนวคิดการแยกกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสาหรับ เด็กและเยาวชนออก จากกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทั่วไป โดยทั่วไปแล้วการกระทาความผิดคือการกระทาที่ขัดต่อกฎหมาย หากผู้ใดกระทา ความผิดและไม่มีข้อยกเว้นหรือวิธีหลีกเลี่ยงการลงโทษก็จะถูกลงโทษตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม หากเยาวชนกระทาความผิด ก็จะมีกฎและขั้นตอนพิเศษในการจัดการกับกรณีของพวกเขา ในอดีต ผู้กระทาผิดที่เป็นเด็กได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่ปัจจุบันมีวิธีต่างๆ ที่แยกจากกันเพื่อช่วย ให้พวกเขาเปลี่ยนพฤติกรรมและทัศนคติ แทนที่จะส่งพวกเขาเข้าคุก ในประเทศไทย กระบวนการ จัดการกับความผิดของผู้ใหญ่และเยาวชนจะเหมือนกัน แต่ในอดีตไม่มีกฎเกณฑ์เฉพาะในการจัดการ กับผู้กระทาผิดที่เป็นเยาวชน ขณะนี้มีกระบวนการเพื่อช่วยให้เยาวชนประสบความสาเร็จและ ปรับปรุงพฤติกรรมของพวกเขา หากไม่มีบทบัญญัติยกเว้นความผิด และยกเว้นโทษเอาไว้ ผู้กระทา จะต้องรับโทษตามที่กฎหมายในขณะนั้นกาหนด อย่างไรก็ดีหากเป็นการกระทาความผิดของเด็กและ เยาวชน กฎหมายอาจกาหนดวัตถุประสงค์ของการดาเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญา รวมถึง กาหนดกฎเกณฑ์ขั้นตอนที่แตกต่างไปจากคดีอาญาทั่วไป กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของเด็กและ เยาวชนที่ตกเป็นผู้กระทาความผิดถูกพัฒนามายาวนาน ซึ่ งแต่เดิมในอดีตจะใช้การดาเนินการ เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ โดยในช่วงเวลานั้นทั้งตัวบทกฎหมายสารบัญญัติและ วิธีสบัญญัติจะใช้เป็นรูปแบบ เดียวกันกับคดีอาญาทั่วไป ซึ่งรวมถึงการลงโทษจาคุกหรือการลงโทษประหารชีวิต อย่างไรก็ตาม เมื่อ เข้าสู่ศตวรรษที่ 19 ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการแยกการดาเนินคดีกับผู้กระทาความผิดที่เป็นเด็ก และเยาวชนโดยเฉพาะโดยใช้กลไกในการส่งเด็กและเยาวชนผู้ฝ่าฝืนกฎหมายไปยังศูนย์ที่มีหน้าที่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3