2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ
53 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและฝึกฝนจิตใจให้เหมาะสมแทนที่จะมีการส่งเด็กและเยาวชนไปยังเรือนจา ดังที่เคยปฏิบัติมาก่อนหน้านั้น สาหรับประเทศไทยกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของบุคคลผู้กระทาความผิดที่ เป็นผู้ใหญ่และ เด็กหรือเยาวชนนั้นดารงอยู่ภายใต้ระบบเดียวกัน ตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งแม้ว่า ในขณะนั้นประเทศไทยมีบทบัญญัติทางอาญาของผู้กระทาความผิดที่เป็นเด็กเป็นการเฉพาะ เช่น พระ อัยการลักษณะวิวาทด่าตีกันแต่ก็ไม่มีกระบวนการหรือองค์กรที่ใช้อานาจตุลาการที่ทาหน้าที่พิจารณา พิพากษาคดีที่เด็กเป็นผู้กระทาความผิดแยกต่างหาก ดังนั้นเมื่อมีการกระทาความผิดโดยเด็กเกิดขึ้น หน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีจะอยู่ในอานาจของศาลยุติธรรมดังเช่นคดีที่ผู้กระทาความผิดเป็น ผู้ใหญ่ เมื่อกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ประกาศใช้ ประเทศไทยเริ่มมีการนาวิธีปฏิบัติ ต่อเด็กผู้กระทาความผิดทางอาญามาใช้เป็นพิเศษ เช่น นาการศึกษาฝึกอบรมและฝึกฝนอาชีพตาม พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2478 มาใช้ นาการส่งเด็กและเยาวชนที่กระทาความผิดไปยัง สถานฝึกและอบรมตามพระราชบัญญัติจัดการฝึกและอบรมเด็กบางจาพวก พ.ศ. 2479 มาใช้ เป็นต้น โดยในช่วงนั้นมาตรการต่าง ๆ เหล่านี้ถูกใช้เป็นปลายทางของกระบวนการในศาล แม้ว่ามาตรการที่ กล่าวมาจะมีลักษณะพิเศษกว่าการลงโทษในคดีอาญาทั่วไปโดยเน้นไปที่การให้โอกาสและแก้ไข พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กและเยาวชนผู้กระทาความผิด ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่ามาตรการดังกล่าวนั้น ล้วนแต่เป็นมาตรการที่ถูกใช้บังคับเมื่อคดีสิ้นสุดแล้วเท่านั้น กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสาหรับ เด็กและเยาวชนในช่วงเวลาดังกล่าวจึงมีลักษณะเช่นเดียวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทั่วไป เมื่ อถึ งปี พ.ศ. 2482 รั ฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีความคิดที่ จะแยก กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสาหรับผู้กระทาความผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนออกจากกระบวนการ ยุติธรรมทั่วไปโดยการจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน จึงได้ส่งคณะบุคคลไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับศาลคดี เด็กและเยาวชนของต่างประเทศ แต่การผลักดันให้มีกระบวนการยุติธรรมดังกล่าวต้องหยุดชะงักไป เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง และเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงจึงได้มีการประชุมเพื่อวาง แนวทางในการจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนขึ้นในประเทศไทย โดยในการประชุมครั้งนั้นมีการกาหนด สาระสาคัญเกี่ยวกับศาลคดีเด็กและเยาวชน ซึ่งสรุปได้ว่า ในช่วงระยะเริ่มแรกศาลคดีเด็กและเยาวชน จะเป็นศาลอาญาเป็นการดาเนินการเฉพาะคดีอาญาที่เด็กและเยาวชนกระทาความผิด รวมทั้งคดีแพ่ง ที่เกี่ยวพันกับการใช้อานาจปกครองก่อนเท่านั้น จนกระทั่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 ประเทศไทยจึง ได้มีการประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสาหรับเด็กและเยาวชน 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 และ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดี เด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3