2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ
55 การเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ซึ่งต่อมากฎหมายฉบับดังกล่าวถูกแก้ไขเพิ่มเติมอีกสองครั้ง ในปี พ.ศ. 2558 และอีกสองครั้ง ในปี พ.ศ. 2559 การแยกกระบวนการยุ ติ ธรรมทางอาญาส าหรั บเด็ กและเยาวชนออกจาก กระบวนการยุติธรรมทาง อาญาทั่วไปดารงอยู่ภายใต้วัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมาย คือ ต้องการให้ โอกาสผู้กระทาความผิดซึ่งยังอ่อนด้อย ซึ่งวัยวุฒิ คุณวุฒิ ประสบการณ์ มีโอกาสในการแก้ไขปรับปรุง ตัว ภายได้ข้อสันนิษฐานที่ ว่า ผู้ กระทาความผิดที่ เป็นเด็กและเยาวชน ( Child and Juvenile Delinquent) ไม่ใช่อาชญากรที่ชั่วร้าย แต่เป็นผู้ที่ยังสามารถแก้ไข ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง และฝ่าฝืนกฎหมายอาญาได้ ซึ่งวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายนี้เป็น สาระสาคัญของกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญาสาหรับเด็กและเยาวชนที่ทุกหน่วยงานหรือทุกองค์กรที่มี อานาจหน้าที่ตาม กฎหมายจะต้องพึงระลึกอยู่เสมอ(ปพนธีร์ ธีระพันธ์, 2562) 2.2 หลักนิติธรรม หลักนิติธรรมในฐานะที่เป็นหลักพื้นฐานสาคัญของประเทศที่ใช้ระบบ Common law คาว่า “หลักนิติธรรม” (Rule of Law) ได้แพร่หลายโดยนักกฎหมายรัฐธรรมนูญที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ เอ. วี.ไดซีย์ (AV. Dicey) ตามทัศนะของไดซีย์ หลักนิติธรรมแสดงออกโดยนัยสาคัญ 3 ประการ คือ(จรัญ โฆษณานันท์, 2550) (1) การที่ฝ่ายบริหารไม่มีอานาจลงโทษบุคคลใดตามอาเภอใจ เว้นแต่เป็นกรณีที่ มีการละเมิดกฎหมายโดยชัดแจ้ง และการลงโทษที่อาจกระทาได้นั้นจะต้องกระทาตามกระบวนการ ปกติของกฎหมายต่อหน้าศาลปกติ (Ordinary Courts) ของแผ่นดิน (2) ไม่มีบุคคลใดอยู่ เหนือ กฎหมาย ไม่ว่าเขาจะอยู่ในตาแหน่งใดหรือเงื่อนไขใด ทุกคน (ไม่ว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคค ล ธรรมดา) ล้วนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและศาลเดียวกัน และ (3) หลักทั่วไปของกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนเป็นผลมาจาก (ได้มาจาก) คาวินิจฉัยของศาลหรือกฎหมายธรรมดา มิใช่เกิดขึ้นจากการรับรองค ้าประกันเป็นพิเศษโดยรัฐธรรมนูญ แนวคิดพื้นฐานของหลักนิติธรรมตามทัศนะของไดซีย์ดังกล่าวนี้เองที่ก่อรูปของกรอบแนวคิด ของ “หลักนิติธรรม” ของอังกฤษและพัฒนาให้เกิดระบบกฎหมายแบบ Common law ที่เป็นระบบ กฎหมายเดียว (ไม่แยกกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน) และเป็นระบบศาลเดี่ยว (ไม่แยก ระหว่างศาลยุติธรรมกับศาลปกครอง) แนวความคิดเกี่ยวกับ "หลักนิติธรรม" ของศาสตราจารย์ อัลเบิร์ต เวนน์ ไคซีย์ (Professor Albert Venn Dicey) ในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศาสตราจารย์ทางกฎหมายแห่งมหาวิทยาลัย Oxford อัลเบิร์ต เวนน์ ไดซีย์ (Albert Venn Dicey) ซึ่งเป็นผู้เสนอความคิดเรื่อง "อานาจอธิปไตยของ รัฐสภา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3