2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ

57 2.3 แนวคิดทฤษฎีและการดาเนินคดีในศาลเยาวชนและครอบครัว เมื่อมีคนก่ออาชญากรรม มันไม่เพียงส่งผลกระทบต่อพวกเขาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสังคม โดยรวมด้วย เมื่อต้องรับมือกับผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าก่ออาชญากรรม จะต้องคานึงถึงสิทธิและเสรีภาพของ พวกเขาด้วย มีสองทฤษฎีหลักในระบบยุติธรรมทางอาญา: ทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรมและทฤษฎี กระบวนการทางกฎหมาย ทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรมมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพและการจับกุมผู้ ต้องสงสัยอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ทฤษฎีกระบวนการทางกฎหมายเน้นความเป็นธรรมและการปฏิบัติ ตามกระบวนการทางกฎหมาย ประเทศต่างๆ มักใช้ทั้งสองทฤษฎีร่วมกันในระบบยุติธรรมทางอาญา แต่ละองค์กรในระบบยุติธรรมมีปรัชญาและวัตถุประสงค์ของตนเอง ซึ่งอาจส่งผลต่อวิธีจัดการกับ คดีอาญาได้ การพิจารณาความแตกต่างเหล่านี้เป็นสิ่งสาคัญเพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการยุติธรรมทาง อาญาประสบความสาเร็จ ภายใต้ทฤษฎีและหลักการ ดังนี้ 2.3.1 ทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา (Criminal Justice System) ปัจจุบันได้มีการแบ่งเป็น 2 ทฤษฎี (อารี รุ่งพรทวีรัตน์, 2527) คือ 2.3.1.1 ทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรม (Crime Control) เป็นทฤษฎีที่เน้นหนักทางด้านประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมโดยมุ่งจะ ควบคุม และระงับปราบปรามอาชญากรรมเป็นหลัก โดยทฤษฎีนี้มีการสันนิษฐานว่าหากมีการจับกุม ผู้กระทาความผิด ผู้นั้นจะเป็นผู้กระทาความผิดจริง กล่าวคือ ผู้ถูกจับจะหลุดพ้นจากการลงโทษของ ศาลนั้นน้อยมากและจะมีการดาเนินงานต่อไปตามขั้นตอนจนถึงการพิจารณาคดีในชั้นศาล แต่การ ค้นหาข้อเท็จจริงในศาลมีน้อย วิธีการดาเนินงานในชั้นตารวจหรืออัยการตามทฤษฎีนี้จะทาให้ผู้ต้อง สงสัยหรือผู้บริสุทธิ์ถูกปลดปล่อยไปโดยเร็ว แต่ขณะเดียวกันก็อาจทาให้การดาเนินคดีกับผู้ต้องหาที่ กระทาความผิดจริงมีหลีกฐานแน่นหนา ซึ่งเป็นการค้นหาหลักฐานอย่างไม่เป็นทางการ 2.3.1.2 ทฤษฎีกระบวนการนิติธรรม (Legal Process) เป็นทฤษฎีที่ยึดกฎหมายเป็นหลักการดาเนินคดีอาญา จะต้องมีความเป็นธรรมและ เป็นไปตามขั้นตอนต่าง ๆ ของกฎหมาย โดยทฤษฎีนี้จะไม่เห็นด้วยกับการแสวงหาข้อเท็จจริงอย่างไม่ เป็นทางการของทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรมในชั้นตารวจกับอัยการ แต่จะต้องจัดให้มีการพิจารณา คดี หรือไต่สวนผู้ถูกกล่าวหาอย่างไม่เป็นทางการ และเปิดเผยต่อประชาชนในศาลยุติธรรม ผู้ต้องหา จะมีความผิดต่อเมื่อผู้มีอานาจตามกฎหมายพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้นั้นมีความผิด ในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ก็มิได้ปฏิบัติตามทฤษฎีใดโดยเฉพาะเจาะจง แต่มักจะใช้ สองทฤษฎีนี้ผสมกัน กล่าวคือ ระบบงานยุติธรรมทางอาญามักจะคานึงถึงทฤษฎีทั้งสองควบคู่กันไป แต่อาจจะมีเนื้อหาเน้นไปที่ทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่ง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3