2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ

58 ปรัชญาพื้นทางทางอาชญาวิทยาขององค์กรแต่ละองค์กรในกระบวนยุติธรรมซึ่งมี ผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เมื่อได้มีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม ทางอาญาอย่างแท้จริงมากขึ้น นักวิชาการก็จะตระหนักว่าองค์กรต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรมก็ ไม่ได้ประกอบเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ ในทางปฏิบัติองค์กรแต่ล่ะองค์กรในกระบวนการยุติธรรม ทางอาญานี้หาได้ประกอบเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบไม่ ในทางปฏิบัติองค์กรแต่ล่ะองค์กรใน กระบวนการยุติธรรมต่างก็ปฏิบัติงานไปตามแนวทางและวัตถุประสงค์ของตนเอง แม้ว่าจะมีเป้าหมาย หลักอย่างเดียวกัน คือ การควบคุมอาชญากรรมแต่เนื่องจากแต่ล่ะองค์กรมีพื้นฐานทางอาชญาวิทยาที่ แตกต่างกัน จึงตีความหมายของเป้าหมายนี้แตกต่างกัน ดังนั้นในการแก้ปัญหาทางด้านการไม่เป็น ระบบของกระบวนการยุติธรรมจึงต้องมีการคานึงถึงปรัชญาที่เป็นพื้นฐานของแต่ล่ะองค์กร มิฉะนั้นก็ อาจจะทาให้กระบวนการยุติธรรมทางอาญาไม่ประสบความสาเร็จ 2.3.2 แนวคิดเกี่ยวกับการดาเนินคดีอาญา การดาเนินคดีอาญามีความสาคัญในการบังคับใช้กฎหมายเมื่อมีการก่ออาชญากรรม พวกเขาเกี่ยวข้องกับการสอบสวน การจับกุม การพิจารณาคดี และการลงโทษสาหรับอาชญากรรม ในอดีตบุคคลต้องจัดการคดีอาญาของตนเอง แต่ตอนนี้เป็นหน้าที่ของรัฐในการดาเนินคดีอาญา รัฐ ต้องประกันความยุติธรรมและรักษาความสงบสุขในสังคมด้วยการลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย กล่าวคือ เมื่อมีการกระทาความผิดอาญาเกิดขึ้น การดาเนินคดีอาญาก็จะต้องเริ่มขึ้นพร้อมกันทันทีตั้งแต่มีการ รับแจ้งเหตุ การดาเนินการสืบสวน จับกุม สอบสวนฟ้องร้องและดาเนินคดีในศาล เพื่อพิจารณา พิพากษาลงโทษ การจัดระบบการดาเนินคดีอาญาจึงต้องเป็นไปอย่างเป็นระเบียบเดียวกันตลอดทั้ง กระบวนการยุติธรรม กล่าวคือ ระบบการฟ้องร้องคดีจะต้องสอดคล้องกับระบบของการดาเนินงาน ของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ในขณะเดียวกันการบริหารงานยุติธรรมของกระบวนทางอาญาก็ จะต้องสอดคล้องกับระบบการการดาเนินคดีอาญาเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้ กฎหมาย ดังนั้นระบบการดาเนินคดีอาญาจึงมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดและเป็นผลต่อการบริหารงาน ยุติธรรมทางอาญา หากพิจารณาถึงประวัติศาสตร์ ในสมัยโบราณ เห็นได้ว่าเมื่ อเกิดคดีอาญาขึ้น ผู้เสียหายต้องทาหน้าที่ที่จะฟ้องร้องหาพยานมาพิสูจน์ต่อศาลเอง การควบคุมอาชญากรในสมัยก่อน จึงเป็นเรื่องของเอกชน เหตุนี้จึงก่อให้เกิดแนวคิดของนักปราชญ์ทางกฎหมายแบบปัจเจกนิยม (Individualism) ซึ่งยึดมั่นในเรื่องสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่เป็นสิทธิขั้นมูลฐาน แนวความคิดนี้ เน้นว่าเสรีภาพของประชาชนนั้นรัฐจะล่วงละเมิดไม่ได้ รัฐจึงต้องบัญญัติกฎหมายรับรองให้สิทธิแก่ ประชาชนในอันที่จะดาเนินการฟ้องร้องคดีเองได้ ซี่งเป็นแนวความคิดที่ถือว่าการควบคุมความสงบ เรียบร้อยนั้นเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบเอง ต่อมาก็ได้เกิดแนวความคิดของนักปราชญ์ กฎหมายแบบ อรรถประโยชน์นิยม ซึ่งเห็นว่าความผิดอาญาเป้นความผิดของสังคมหรือมหาชน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3