2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ

59 สังคมหรือมหาชนเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ส่วนเอกชนผู้ตกเป็นเหยื่อของการกระทา ความผิดไม่ใช่ผู้เสียหาย ดังนั้นการควบคุมรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเ มืองเป็นหน้าที่ของรัฐ ไม่ใช่ของเอกชน รัฐมีหน้าที่ต้องป้องกันปราบปรามการกระทาความผิดอาญา เอกชนไม่มีหน้าที่ในอัน ที่จะควบคุมดุแลความสงบเรียบร้อยของสังคม ดังนั้นเมื่อมีการกระทาความผิดอาญาเกิดขึ้น รัฐจึงเป็น ผู้เสียหายและจะต้องเป็นผู้ดาเนินการฟ้องร้องคดีอาญาเอง โดยจะต้องจัดให้มีเจ้าพนักงานของรัฐฟ้อง ผู้กระทาความผิดให้ได้รับการลงโทษ หรือที่เรียกว่าอัยการ โดยไม่ต้องคานึงว่าเจ้าทุกข์จะมีความ ประสงค์อยากให้ผู้กระทาความผิดอาญานั้นได้รับโทษหรือไม่ (บทที่ 2 ทฤษฎีและแนวความคิดในการ ดาเนินคดีอาญา, 2557) ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า รัฐเลือกที่จะเป็นผู้รักษาความสงบเรียบร้อย ด้วยการใช้อานาจใน การดาเนินคดีอาญาเอง โดยแนวคิดนี้ได้ใช้เป็นการทั่วไปในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยหลักในการดาเนินคดีที่ใช้ในการค้นคว้าข้อเท็จจริงในทางคดี หรือการสืบพยาน นั้น เกิดขึ้นจาก 2 ระบบที่สาคัญ ได้แก่ 2.3.3 ระบบไต่สวน (Inquisitorial System) ระบบไต่สวนมีที่มาจากการชาระความของผู้มีอานาจในศาสนาโรมันคาทอลิคในวง การศาสนาคริสต์ เมื่อผู้มีอานาจปกครองดูแลได้ทราบว่ามีการกระทาความผิด หรือ การกระทาอันมิ ชอบที่เกิดขึ้นในสังคม ผู้มีอานาจปกครองจะใช้การไต่สวนค้นหาความจริงให้ได้ โดยไม่คานึงว่าจะมี บุคคลมากล่าวหาหรือไม่ และการหาตัวผู้กระทาความผิดก็ไม่มีหลักเกณฑ์ที่เคร่งครัด เพราะมุ่งจะเอา ผลที่จะได้รู้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะมีการใช้วิธีทรมานจาเลยเพื่อให้จาเลยรับสารภาพและเล่า ข้อเท็จจริง และอาจจะมีการสืบพยานลับหลังจาเลย คือ การสืบพยานโดยจาเลยไม่มีโอกาสรู้เห็นได้ เพราะถือว่าผู้ชาระความสามารถให้ความยุติธรรมและคุ้มครองสิทธิให้จาเลยอยู่แล้ว (ชวเลิศ โสภณวัตร, 2564) ระบบไต่สวนถูกสร้างขึ้นโดยเจ้าหน้าที่นิกายโรมันคาทอลิกเพื่อค้นหาความจริงเมื่อมี เรื่องเลวร้ายเกิดขึ้นในสังคม พวกเขาจะสอบสวนโดยไม่ต้องให้ใครกล่าวหาคนอื่น และพวกเขาจะใช้ การทรมานเพื่อให้บุคคลนั้นสารภาพ ใช้ในยุโรปและต่อมามีอิทธิพลต่อวิธีดาเนินการพิจารณาคดี โดย มุ่งเน้นที่การค้นหาความจริงจากหลักฐานทั้งหมดที่นาเสนอ แต่ยังคงเอกลักษณ์เดิมอยู่ คือ ศาลมี หน้าที่ค้นหาความจริงจากพยานหลักฐานต่าง ๆ ทั้งที่คู่ความนามาเสนอต่อศาล หรือศาลเห็นสมควร เรียกมาสืบเอง และไม่มีบทกฎหมายวางระเบียบการสืบพยาน หรือไม่มีบทตัดพยานโดยเคร่งครัด ดังนั้น ศาลมักจะรับพยานหลักฐานทุกชิ้นเข้าสู่สานวนความ และจะไปชั่งน ้าหนักพยานหลักฐานว่า พยานหลักฐานชิ้นใดมีน ้าหนักน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด(เข็มชัย ชุติวงศ์, 2563)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3