2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ

61 กล่าวหาที่ใช้ในส่วนอื่นๆ ของโลก ประเทศในยุโรปที่มีระบบผสมนี้ทาให้ผู้พิพากษาและศาลมีบทบาท มากขึ้นในการเปิดเผยความจริง ซึ่งช่วยให้กระบวนการสอบสวนมีความละ เอียดถี่ถ้วนและยุติธรรม มากขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับความยุติธรรมอย่างมีประสิทธิผลมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (อรรถพล ใหญ่สว่าง, 2526) 2.3.6 หลักการค้นหาความจริงในคดีอาญา การที่ศาลจะค้นหาความจริงในคดีอาญานั้นจะต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานที่ นาเข้ามาสู่การพิจารณาไม่ว่าจะเกิดจากการนาเสนอของคู่ความหรือพยานที่ศาลเรียกเข้ามาในคดี ซึ่ง อาจจะแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ การค้นหาความจริงตามแบบ และการค้นหาความจริงตามเนื้อหา (ณรงค์ ใจหาญ, 2556) สาหรับการค้นหาความจริงตามแบบนั้นหมายถึง การที่ศาลพิจารณาพยานหลักฐาน ที่คู่ความ นาเสนอต่อศาลโดยพิจารณาว่า พยานหลักฐานนั้นยื่นมาชอบหรือไม่ และเท่าที่ปรากฏ หลักฐานที่ นาเสนอนั้นวินิจฉัยได้ว่า การกระทาของจาเลยมีหลักฐานน่าเชื่อหรือไม่ว่าเป็นผู้กระทา ความผิด การ ค้นหาความจริงพยานแบบนี้ พยานหลักฐานอาจได้มาโดยการยอมรับของคู่ความทั้งสอง ฝ่ายว่านามาใช้ เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ส่วนการค้นหาความจริงตามเนื้อหา หมายถึง การที่ศาลพิจารณาหลักฐานจะต้อง ค้นหาความ จริงด้วยตัวศาลเอง ทั้งนี้โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานทั้งโจทก์และจาเลย และ นอกจากพยานที่ กล่าวมาแล้ว ศาลอาจพิจารณาพยานที่ศาลเรียกมาให้การด้วย เพื่อให้ได้ความจริง ด้วยแทนที่จะเป็น การนาเสนอและซักถามจากโจทก์หรือจาเลย ในการค้นหาความจริงทั้งสองแบบนั้น ศาลในประเทศภาคพื้นยุโรป จะมีการค้นหา ความจริง ตามเนื้อหา(คณิต ณ นคร, 2525) ส่วนศาลอังกฤษจะค้นหาความจริงตามแบบ โดยมี บทบาทเป็นคนกลางคอยควบคุม ความชอบของคดี การนาเสนอพยานที่สามารถรับฟังได้ และอาจรับ ฟังพยานหลักฐานที่คู่ความยอมรับได้โดยไม่ต้องนาสืบในศาลอีก สาหรับศาลไทยนั้น มีลักษณะการ ค้นหาความจริงกึ่งเนื้อหา กล่าวคือ ศาลมีอานาจพิพากษาโดยอาศัยคารับสารภาพของจาเลยได้ในบาง คดีตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 โดยไม่ต้องค้นหาความจริงจาก พยานหลักฐานอื่น แต่ใน ขณะเดียวกัน ศาลก็มีอานาจที่จะเรียกพยานมาสืบเองหรือเรียกสานวนการ สอบสวนจากพนักงาน อัยการมาประกอบการวินิจฉัยได้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในข้อเท็จจริง 2.3.6.1 หลักฟังความทุกฝ่าย เป็นหลักเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาที่จะต่อสู้กล่าวหาได้ ผู้กล่าวหามีสิทธิที่จะได้แย้ง คัดค้านได้ เป็นสิทธิหนึ่งที่ผู้ถูกกล่าวหาในอันที่จะสามารถใช้ต่อสู้คดีได้ หลักการที่สาคัญอีกประการ หนึ่ง คือ ผู้ถูกกล่าวหาว่าเขาถูกกล่าวหาว่าอย่างไร เพื่อความยุติธรรมต่อเขาในการที่จะได้มีโอกาส ต่อสู้ แก้ไข กล่าวหาได้เต็มที่ เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตน การที่จะถือว่าผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้กระทา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3