2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ

63 ตรวจสอบและทาความเข้าใจอย่างรอบคอบก่อนทาการตัดสินซึ่งจะมีการรับประกันผลลัพธ์ที่ยุติธรรม (คณิต ณ นคร, 2525) 2.3.6.3 หลักพยานโดยตรง หลักพยานโดยตรงนั้นจะมีความใกล้ชิดกับหลักวาจา ในหลักพยานโดยตรงมีหลักอยู่ 2 ประการ คือ การสืบพยานต้องกระทาโดยตรง และพยานโดยตรง การสืบพยานต้องกระทาโดยตรง นั้น หมายความว่า การสืบพยานเป็นหน้าที่ของศาล จะมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนตน ไม่ได้(หยุด แสงอุทัย, 2505) และพยานโดยตรง หมายความว่า ศาลต้องวินิจฉัยคดีตามเหตุผลที่ได้มา จากการสืบพยาน ศาลจะรับฟัง คาให้การพยานที่จดไว้ในชั้นสอบสวนหรือไต่สวนมูลฟ้องว่าเป็น คาให้การของพยานผู้นั้นแทนการมาเบิกความไม่ได้ เพื่อให้ศาลได้พิจารณาว่าพยา นบุคคล พยาน เอกสาร พยานวัตถุนั้ นมีความน่าเชื่ อถือเพียงใด(ณรงค์ ใจหาญ, 2556) แม้พยานที่ เป็นบุคคล ผู้เชี่ยวชาญ ปกติก็ต้องมาเบิกความในศาล เนื่องจากความน่าเชื่อถือของพยานที่เป็นบุคคลถือเป็น สาระสาคัญของเรื่อง และความน่าเชื่อถือนั้นจะได้มาก็ต่อเมื่อได้เห็นตัวและจากการสังเกตการให้การ เท่านั้น ทั้งนี้ ตามหลักจิตวิทยาคาให้การพยานบุคคล จากหลักพยานโดยตรง ทาให้เกิดปัญหาที่ควรคิดว่า การที่ผู้พิพากษาซึ่งมิได้มีการ พิจารณาคดีโดยตรง เพียงแต่อ่านสานวนที่บันทึกและลงชื่อเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา หรือการ พิจารณาคดีที่ยืดเยื้อจนผู้พิพากษาคดีนั้นได้เปลี่ยนไป เพราะเหตุได้รับคาสั่งให้ย้ายไปประจาที่ศาลอื่น หรือ เสียชีวิตก่อนการตัดสิน ทาให้ผู้พิพากษาที่พิจารณามิได้เป็นบุคคลคนเดียวกันตลอดจนจบคดี จะ ทาให้ กระบวนพิจารณาคดีเสียไปหรือไม่ ซึ่งในทางวิชาการนั้นเห็นว่าน่าจะเสียไป เพราะว่าผู้พิพากษา คดีนั้น ไม่ได้ชั่งน ้าหนักพยานด้วยตนเอง จึงไม่อาจทราบได้ว่าพยานหลักฐานตามที่ได้ปรากฏอยู่ใน สานวนนั้นมีความน่าเชื่อถือเพียงใด ซึ่งอาจส่งผลให้การค้นหาความจริงเกิดความคลาดเคลื่อนได้ 2.3.6.4 หลักเปิดเผย หลักการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย หมายความว่า การพิจารณาคดีในศาลต้องกระทา โดยเปิดเผยคือ เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิเข้าฟังการพิจารณาและสืบพยานในศาลได้ ซึ่งโดย ปกติจะกระทาในห้องพิจารณาคดี หลักการพิจารณาคดีโดยเปิดเผยนี้เป็นหลักที่ประชาชนสามารถ ตรวจสอบการพิจารณาของศาลได้ ซึ่งเป็นการป้องกันการดาเนินกระบวนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ การดาเนินการใด ๆ ที่มิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในกฎหมายไทยมีบัญญัติไว้ในประมวลวิธีพิจารณาความ อาญา มาตรา 172 แต่มีบางกรณีที่สามารถทาการพิจารณาลับได้ เฉพาะเพื่อประโยชน์แห่งความสงบ เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือเพื่อป้องกันความลับอันเกี่ยวกับความของประเทศล่วงรู้ ถึงประชาชน หรือการคุ้มครองสิทธิของเด็กหรือสตรีซึ่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 177 ประมวลวิธีพิจารณา ความอาญา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3