2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ
64 การพิจารณาคดีที่ตรงข้ามกับการพิจารณาโดยเปิดเผย คือ “การพิจารณาลับ” เกี่ยวกับ “การพิจารณาลับ” มาตรา 177 บัญญัติว่า “ ศาลมีอานาจสั่งให้พิจารณาเป็นการลับ เมื่อ เห็นสมควรโดยพลการ หรือโดยคาร้องขอของคู่ความฝ่ายใด แต่ต้องเพื่อประโยชน์แห่งความสงบ เรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันความลับอันเกี่ยวกับความปลอดภัยของ ประเทศมิให้ล่วงรู้ถึงประชาชน”หลักการของการพิจารณาคดีแบบเปิดเป็นลักษณะพื้นฐานของระบบ กฎหมายที่ยุติธรรมและยุติธรรม ช่วยให้มั่นใจว่าประชาชนมีสิทธิเข้าร่วมการพิจารณาคดีของศาล สังเกตการณ์การพิจารณาคดี และตรวจสอบพยาน การดาเนินการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผยในห้อง พิจารณาคดี ประชาชนสามารถตรวจสอบการพิจารณาของศาลและป้องกันไม่ให้มีกิจกรรมที่ผิด กฎหมายเกิดขึ้นได้ แม้ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในประเทศไทยจะอนุญาตให้มีการ พิจารณาคดีอย่างเป็นความลับได้ในบางกรณี เช่น เพื่อปกป้องความสงบเรียบร้อยของสาธารณะหรือ ความมั่นคงของชาติ การผิดนัดยังคงมีความโปร่งใสและเปิดกว้างในกระบวนการยุติธรรม ท้ายที่สุด แล้ว หลักการของการพิจารณาคดีแบบเปิดทาหน้าที่สนับสนุนหลักนิติธรรมและปกป้องสิทธิของ บุคคลทุกคนที่เกี่ยวข้องกับระบบกฎหมาย ดังนี้ “การพิจารณาลับ” จะกระทาได้เฉพาะ “เพื่อประโยชน์แห่งความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน” หรือ “เพื่อป้องกันความลับ อันเกี่ยวด้วยความปลอดภัยของประเทศ มิให้ล่วงรู้ถึงประชาชน” เท่านั้น การพิจารณาลับเพื่ อประโยชน์แห่งความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ ประชาชน เช่น การพิจารณาลับในคดีความผิดฐานข่มขืนกระทาชาเรา เป็นต้น การพิจารณาลับเพื่อป้องกันความลับอันเกี่ยวด้วยความปลอดภัยของประเทศมิให้ ล่วงรู้ ถึงประชาชน เช่น การพิจารณาในคดีความผิดฐานกบฏ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มาตรา 182 วรรคสอง บัญญัติว่า “ให้อ่านคาพิพากษาหรือคาสั่งใน ศาลโดยเปิดเผยในวันเสร็จการพิจารณา หรือ ภายในเวลาสามวันนับแต่เสร็จคดี ถ้ามีเหตุอันสมควร จะเลื่อนไปอ่านวันอื่นก็ได้ แต่ต้องจดรายงานเหตุนั้นไว้" ดังนี้ ไม่ว่าการพิจารณาคดีจะเป็นการพิจารณาโดยเปิดเผยหรือเป็นการพิจารณาลับ คาพิพากษาหรือคาสั่งของศาลจักต้องอ่านโดยเปิดเผยเสมอ “หลั ก เ ปิ ด เ ผ ย ” ( Grundsatz der Offentlichkeit/principle of public trial) เรียกร้องว่า การพิจารณาคดีต้องกระทาในห้องพิจารณาคดีที่ระหว่างการพิจารณาคดีนั้นตามปกติ ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าไปฟังการพิจารณาคดีได้ แม้การพิจารณาคดีใดคดีหนึ่งจะกระทาใน ห้องพิจารณาคดีที่เล็กและจานวนผู้ฟังที่จะเข้าไปฟังได้มีจานวนจากัดก็ตาม ก็ถือว่ายังไม่ผิด “หลัก เปิดเผย” แต่ถ้าห้องพิจารณาคดีคับแคบมากจนผู้ฟังไม่อาจจะร่วมในการพิจารณาคดีได้ ดังนี้ ต้องถือ ว่าการพิจารณาคดีนั้นขัดต่อ “หลักเปิดเผย” ห้องพิจารณาคดีของศาลทุกศาลในประเทศไทยเราไม่มี ความคับแคบจนประชาชน ไม่อาจจะเข้าไปร่วมรับรู้การพิจารณาคดีของศาลได้ การพิจารณาคดีในห้องพิจารณา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3