2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ
65 คดีในศาลจึงไม่มีปัญหาในเรื่อง “หลักเปิดเผย” (GrundsatzderOffentlichkeit/principle of public trial) แต่ตาม กฎหมายนั้นศาลมีอานาจนั่งพิจารณาคดี ณ สถานที่อื่นได้ และเมื่อเช่นนี้กรณีอาจเป็น ปัญหาในเรื่อง “หลักเปิดเผย” ได้เพราะสถานที่ที่ใช้เป็นห้องพิจารณาอาจคับแคบ ในปัญหานี้ ทางศาลสูงสุดสหพันธ์ สาธารณรัฐเยอรมนีเคยมีการวินิจฉัยไว้ว่า ถ้าหากห้องที่ใช้ในการนั่งพิจารณาคดีนั้น คับแคบมากจนทา ให้ผู้ฟังไม่อาจจะสามารถร่วมในการพิจารณาคดีได้ กรณีจึงถือได้ว่าในการพิจารณาคดีนั้นขัดต่อ “หลัก เปิดเผย” (Grundsatz der Offentlichkeit/principle of public trial) - การพิจารณาลับนั้นไม่ได้ หมายถึงการพิจารณาลับที่ศาลสั่งให้พิจารณาลับ การที่ศาลไม่ เปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิเข้าฟังการ พิจารณาคดีได้โดยตรงหรือโดยอ้อมต้องถือว่าเป็นการ พิจารณาลับทั้งสิ้น - มีทางปฏิบัติของศาลไทย เราที่ผู้เขียนเคยประสบมา คือ การเปิดการพิจารณาคดีในห้อง ทางานของผู้พิพากษา ซึ่งโดยปกติ ได้แก่การเลื่อนคดีและการพิจารณาพิพากษาคดีที่จาเลยให้การ รับสารภาพ เป็นต้น แม้ตามกฎหมาย การนั่งพิจารณาคดีที่ยื่นไว้ต่อศาลใดจะต้องกระทาในศาล นั้นก็ตาม แต่การพิจารณาคดีในห้องทางาน ของผู้พิพากษานี้จะถือว่าทุกคนมีสิทธิเข้าฟังย่อม ไม่ได้ ทางปฏิบัติของศาลดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วย กฎหมาย เพราะเป็นการไม่เปิดโอกาสให้ทุกคน เข้าฟังการพิจารณาคดีทั้งโดยตรงและโดยอ้อม กรณี จึงต้องถือว่าเป็นการพิจารณาลับ การที่คดีต้องพิจารณาโดยเปิดเผยนั้น ก็เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชน ได้ควบคุมการทางาน ของศาลในฐานะที่เขาเป็นเจ้าของอานาจอธิปไตย การพิจารณาคดีโดยเปิดเผย คือ การเปิดโอกาสให้ประชาชนควบคุมการทางานของ ศาล หาใช่การ กระทาที่ต้องการผู้ชมจานวนมาก ดังเช่น “การแสดง” ไม่ฉะนั้น การพิจารณาคดีที่มี ลักษณะ เป็น “การแสดง” ย่อมเป็นการกระทาที่เกินขอบเขตแห่ง “เสรีภาพในการรับรู้ข่าวสาร” (Informationsfreiheit/freedom of information) ของบุคคล และเป็นการประจานผู้ถูกกล่าวหา ยิ่งกว่านั้น การพิจารณาคดีที่มีลักษณะเป็น “การแสดง” นั้น แทนที่จะเป็นการกระทาที่ถูกควบคุม โดยประชาชน แต่จะกลายเป็นการครอบงาโดยประชาชนไป เพราะเป็นการกระทาที่กระทบต่อ ความ เป็นอิสระของผู้พิพากษาหรือศาลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดีความผิดที่มีลักษณะในทาง การเมืองที่ จาเลยอาจมีแนวร่วมและอาจเป็นช่องทางให้มีการขยายแนวร่วมออกไปและสร้างแรง กดดันต่อผู้ พิพากษาหรือศาลได้ ฉะนั้น การถ่ายทอดการพิจารณาคดีไม่ว่าด้วยวิธีการใด จึงต้อง ถือว่าเป็นสิ่งที่ ต้องห้ามโดยเด็ดขาด แม้สิ่งนี้จะไม่ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งในกฎหมายก็ตาม การพิจารณาลับจะ กระทาได้ก็ต่อเมื่อเป็นกรณีของการชั่งน ้าหนักการขัดแย้งกันระหว่าง สิทธิหรือประโยชน์ของรัฐโดย ส่วนรวมกับสิทธิหรือประโยชน์ส่วนตัวของเอกชน และเฉพาะกรณี สิทธิหรือประโยชน์ของประชาชน โดยส่วนรวมมีมากกว่าเท่านั้นที่จะพิจารณาลับได้ สาหรับการอ่านคาพิพากษาที่กฎหมายบัญญัติให้ กระทาโดยเปิดเผยเสมอนั้น กฎหมาย บัญญัติให้ต้องเป็นการอ่าน “ในศาล” เท่านั้น และเมื่อต้องเป็น การอ่าน “ในศาล” แล้ว กรณี จักต้องไม่ทาให้การอ่านคาพิพากษาเป็น “การแสดง” (show business) ทานองเดียวกับการ พิจารณาและสืบพยานที่ได้กล่าวมาแล้ว อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3