2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ
70 2) ถ้าเด็กหรือเยาวชนมีลักษณะหรือพฤติการณ์ที่อาจจะเป็นภัยต่อบุคคลอื่นหรือมี เหตุสมควรประการอื่น ศาลอาจควบคุมไว้ที่สถานพินิจหรือสถานที่อื่นตามที่เห็นสมควร 3) ให้มีการควบคุมไว้ในเรือนจาหรือสถานที่อื่นในกรณีที่เยาวชนมีอายุตั้งแต่ 18 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป และมีลักษณะหรือพฤติการณ์ที่อาจเป็นภัยต่อบุคคลอื่น หรือมีอายุเกิน 20 ปีบริบูรณ์ (สานักงานศาลยุติธรรม, 2567) 2.3.7.2 การสอบสวน ขั้นตอนในการสอบสวนในคดีอาญาของศาลเยาวชนและครอบครัว มีดังนี้ 1) กระทาในสถานที่เหมาะสม ไม่เลือกปฏิบัติ และ ไม่ปะปนกับผู้ต้องหาอื่น 2) ใช้ภาษาและถ้อยคาที่จะทาให้เด็กหรือเยาวชนเข้าใจได้ง่าย จัดหาล่าม หรือ เทคโนโลยีสิ่งอานวยความสะดวกให้ 3) ต้องจัดให้มีที่ปรึกษากฎหมายทุกครั้ง 4) ให้บิดามารดาผู้ปกครองเข้าฟังการสอบสวนได้ หลังจากที่ได้มีการสอบสวนเด็กและเยาวชนหากยังไม่มีการฟ้องต่อศาลเยาวชน ก็จะ มีขั้นตอนที่เรียกว่าการผัดฟ้อง โดยมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ประการแรกเมื่อมีการจับกุมเด็กหรือเยาวชนแล้วพนักงานสอบสวนต้องรีบสอบสวน แล้วส่งสานวนให้พนักงานอัยการเพื่อยื่นฟ้องให้ทันภายใน 30 วัน หากยื่นฟ้องไม่ทันพนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการต้องขอผัดฟ้องต่อศาล ดังนี้ 1) ความผิดที่มีอัตราโทษอย่างสูงให้จาคุกเกิน 6 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี ผัดฟ้องได้ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 15 วัน 2) ความผิดที่มีอัตราโทษอย่างสูงให้จาคุกเกิน 5 ปี ผัดฟ้องได้ 4 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 15 วัน โดยในการผัดฟ้องถ้าไม่มีที่ปรึกษากฎหมายให้ศาลตั้งที่ปรึกษากฎหมายให้ด้วย และ หากยื่นฟ้องเกินกาหนดเวลาต้องได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการซึ่งอัยการสูงสุด มอบหมาย(สานักงานศาลยุติธรรม, 2567) 2.3.7.3 การฟ้องคดีอาญา ในการที่จะยื่นฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัว โดยไม่คานึงว่าขณะยื่นฟ้องจาเลย มีอายุพ้นเกณฑ์เยาวชนแล้วหรือไม่ เนื่องจากให้ถือเอาอายุเด็กหรือเยาวชนในวันที่มีการกระทา ความผิดได้เกิดขึ้นโดยในการฟ้องคดีอาญาต่อเด็กหรือเยาวชนในศาลเยาวชนและครอบครัวจะมี มาตรการพิเศษแทนการดาเนินคดีอาญา ซึ่งจะมีทั้งมาตรการก่อนฟ้องคดีและหลังฟ้องคดี ดังนี้ 1) มาตรการพิเศษแทนการดาเนินคดีก่อนฟ้องคดี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3