2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ

75 2.3.9 ทฤษฎีการออกแบบสังคมโดยใช้กฎหมาย ทฤษฎีการบังคับใช้กฎหมาย (Law Enforcement Theory) เมื่ อได้มีการตรา กฎหมายออกมาบังคับใช้ หากไม่มีผู้ใดคอยบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายก็ย่อมที่จะหาประโยชน์อันใด ในกฎหมายนั้นมิได้ ประกอบกับแนวโน้มในปัจจุบันปริมาณคดีความที่เข้าสู่ศาลและที่ได้ปรากฏอยู่ใน หน้าหนังสือพิมพ์เป็นจานวนมาก นักอาชญาวิทยาจึงได้พัฒนาแนวคิดและขอบเขต ปรัชญาการบังคับ ใช้กฎหมายและการควบคุมสังคม (The Philosophy of Enforcing Laws and Social Control) ให้ รวมตลอดไปถึงการควบคุมพฤติกรรมอันจะนาไปสู่การกระทาผิดด้วย สาหรับ ลักษณะสาคัญเกี่ยวกับ ปรัชญาการบังคับใช้กฎหมายและการควบคุมทางสังคม มี 3 ประการ ประการแรก รัฐเป็นผู้ใช้มาตรการทางกฎหมาย เพื่อควบคุมความประพฤติและ คุ้มครองพิทักษ์ ผลประโยชน์ของสมาชิกในสังคมตามหลักกฎหมายมหาชน ในฐานะที่รัฐมีอานาจ เหนือราษฎรมิได้ รวมถึงกฎหมายเอกชน อันเป็นกฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างราษฎรในฐานะ เท่าเทียมกัน ประการที่สอง รัฐเป็นผู้ได้รับอาณัติมอบหมาย (Mandate) จัดสรรเจ้าหน้าที่ควบคุม รับผิดชอบ การปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยและความผาสุกของชุมชนให้เป็นไปตาม เจตนารมณ์และหลักกฎหมายอย่างเคร่งครัด ประการที่สาม การบังคับใช้กฎหมาย จะต้องบังคับใช้แก่สมาชิกในสังคมโดยเสมอ ภาคภายใต้หลักนิติธรรม (Justice Under Law) ปราศจากความลาเอียงหรือรังเกียจเดียดฉันท์โดย สิ้นเชิงทฤษฎีการบังคับใช้กฎหมายเป็นส่วนสาคัญในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความยุติธรรม ในสังคม หากไม่มีการบังคับใช้กฎหมาย กฎหมายที่ตราขึ้นก็ไม่มีคุณค่า จานวนคดีที่เข้าสู่ระบบศาลที่ เพิ่มขึ้นและการพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์เน้นย ้าถึงความจาเป็นในการใช้แนวคิดและขอบเขตที่มี ประสิทธิภาพซึ่งพัฒนาโดยนักอาชญาวิทยา ปรัชญาของการบังคับใช้กฎหมายและการควบคุมทาง สังคมมุ่งเน้นไปที่การควบคุมพฤติกรรมที่นาไปสู่การกระทาผิด โดยรัฐมีบทบาทสาคัญในการใช้ มาตรการทางกฎหมายเพื่อปกป้องประโยชน์ของสังคม การจัดสรรเจ้าหน้าที่ควบคุมที่รับผิดชอบถือ เป็นสิ่งสาคัญในการรักษาความสงบเรียบร้อย ในขณะที่การบังคับใช้กฎหมายต้องดาเนินการอย่างเท่า เทียมกันสาหรับสมาชิกทุกคนในสังคมโดยไม่มีอคติหรือการเลือกปฏิบัติ เพื่อที่จะรักษาหลักการของ กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน สังคมจะต้องปฏิบัติตามคุณลักษณะที่สาคัญเหล่านี้ของการ บังคับใช้กฎหมายและการควบคุมทางสังคม(วีระพงศ์ บุญโญภาสและคณะ, 2546) จากหลักเกณฑ์ทั้งสามประการในข้างต้นของทฤษฎีการบังคับใช้กฎหมาย จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า กฎหมายคือเครื่องมือในการรักษาความสงบสุขของสังคมโดยรวม แต่โดยลาพังตัวกฎหมายเองย่อมไม่ สามารถที่จะทาให้เกิดความสงบสุขได้เลยหากปราศจากผู้ใช้บังคับกฎหมาย ซึ่งผู้ใช้บังคับกฎหมายนั้น ย่อมมีเพียงรัฐที่จะดาเนินการได้เท่านั้น เพราะหากให้ราษฎรสามารถใช้บังคับกฎหมายได้เองแล้ว

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3