2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ

76 ราษฎรแต่ละคนย่อมใช้บังคับกฎหมายให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของตนเอง ส่งผลให้ในที่สุดก็จะไม่มีผู้ใด ทาตาม กฎหมายและกลายเป็นอนาธิปไตยไป ทั้งนี้ ทฤษฎีการบังคับใช้กฎหมายเมื่อนามาใช้ในกระบวนการยุติธรรม ก็มีทฤษฎีการ บังคับใช้กฎหมาย อยู่ 2 แนวทฤษฎี ได้แก่ แนวทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรม และแนวทฤษฎี กระบวนการนิติธรรมจากหลักการทั้ง 3 ประการของทฤษฎีการบังคับใช้กฎหมายข้างต้น จะเห็นได้ อย่างชัดเจนว่ากฎหมายเป็นเครื่องมือสาคัญในการรักษาสันติภาพในสังคม หากไม่มีรัฐบังคับใช้ กฎหมาย ความวุ่นวายก็จะตามมา หากบุคคลได้รับอนุญาตให้บังคับใช้กฎหมายเพื่อประโยชน์ของ ตนเอง ก็จะไม่มีความสงบเรียบร้อย และอนาธิปไตยก็จะครอบงา ทฤษฎีการบังคับใช้กฎหมายมี บทบาทสาคัญในกระบวนการยุติธรรม โดยมีทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรมและแนวทางทางทฤษฎีที่ ชี้แนะวิธีการรักษากฎหมายและความยุติธรรม จาเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องบังคับใช้กฎหมายเพื่อสร้าง สังคมที่สงบสุขและเป็นระเบียบเรียบร้อยสาหรับพลเมืองทุกคน ทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรม (Crime Control) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่เน้นหนักทางด้านประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรม โดยมุ่งเน้น ที่จะควบคุมระงับและปราบปรามอาชญากรรมเป็นหลัก กล่าวคือ คดีอาญาทั้งหลายที่เข้าสู่ระบบงาน ยุติธรรมทางอาญาตามทฤษฎีนี้ จะต้องดาเนินการไปตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่ได้กาหนดไว้อย่างสม ่าเสมอ โดยไม่หยุดชะงัก โดยมีกระบวนการกลั่นกรองในแต่ละขั้นตอน และในขั้นตอนต่าง ๆ ก็จะดาเนินไป อย่างต่อเนื่องและเป็นการปฏิบัติงานประจา ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่การสืบสวนก่อนทาการจับกุม การ จับกุม การสอบสวนภายหลังที่ได้มีการจับกุม การเตรียมคดีเพื่อฟ้องร้องยังศาล การพิจารณาคดี และ การพิพากษาลงโทษ ผู้กระทาความผิด และการปลดปล่อยจาเลย ดังนั้นการดาเนินการตามขั้นตอน ต่าง ๆ ตามที่ได้กล่าวมา นี้ การบังคับใช้กฎหมายจึงต้องมีความรวดเร็ว (ซึ่งหมายความถึงการปฏิบัติที่ เป็นแบบแผนและในขณะเดียวกันก็ยืดหยุ่นได้บ้าง) และแน่นอน (ซึ่งหมายถึงโอกาสที่ผู้กระทา ความผิดจะหลุดพ้นจาก กระบวนการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพให้ได้น้อยที่สุด) ฉะนั้นเมื่อ ได้ตัวผู้กระทาความผิด มาแล้วทฤษฎีนี้ให้สันนิษฐานว่าผู้นั้นเป็นผู้กระทาความผิดไว้ จากนั้นจึง ดาเนินการตามขั้นตอนจนถึง การพิจารณาพิพากษาคดีของศาล ตามทฤษฎีนี้การค้นหาข้อเท็จจริงใน ชั้นศาลมีอยู่น้อยมาก เนื่องจาก มุ่งหมายให้การดาเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ เน้นการวินิจฉัยคดีให้ เสร็จสิ้นไปตั้งแต่ขั้นตอนต้นต้นของ กระบวนการยุติธรรม อันได้แก่ ตารวจและอัยการ อันทาให้ผู้ต้อง สงสัยหรือผู้บริสุทธิ์ได้รับการ ปลดปล่อยโดยเร็ว และในขณะเดียวกันก็จะทาให้การดาเนินคดีกับ ผู้ต้องหามีพยานหลักฐานแน่นแฟ้น ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายทฤษฎีที่เน้นหนัก ไปที่ประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมคือทฤษฎีที่เน้นการควบคุมและปราบปรามอาชญากรรม ตั้งแต่วินาทีแรกที่เข้าสู่ระบบยุติธรรมทางอาญา ด้วยกระบวนการคัดกรองในแต่ละขั้นตอน การบังคับ ใช้กฎหมายจะต้องรวดเร็วและแน่นอนในการดาเนินการ ตั้งแต่การสอบสวน การจับกุม การพิจารณา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3