2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ
80 ในขอบเขตดิจิทัลอย่างไร ในขณะที่เราปรับตัวเข้ากับสังคมอิเล็กทรอนิกส์ใหม่นี้ต่อไป ระบบกฎหมาย ของเราก็ต้องพัฒนาให้ทันกับภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไป(สราวุธ ปิติยาศักดิ์, 2555) ประการแรก ในสังคมแบบเดิมประชาชนและผู้คนมักมีการติดต่อสื่อสารที่จะได้มี ปฏิสัมพันธ์ และได้มีการเริ่มทาธุรกรรมระหว่างกันแบบต่อหน้า ไปจนถึงทางจดหมาย หรือทาง โทรศัพท์ แต่ในสังคมอิเล็กทรอนิกส์ผู้คนมักจะได้ทาการติดต่อสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์และทาธุรกรรม ระหว่างกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือที่มีการเรียกว่า “ธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์” (Electronic Transaction) ปัญหากฎหมายที่ตามมาคือ กฎหมายนิติกรรมสัญญาที่ ใช้บังคับอยู่จนสามารถนามาปรับและประยุกต์ใช้กับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้หรือไม่นั้น หรือจะ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะมีผลสมบูรณ์และบังคับตามกฎหมายได้หรือไม่ เพียงใด ประการที่สอง ในสังคมแบบเดิมผู้คนมักจะทาการติดต่อสื่อสาร มีปฏิสัมพันธ์และทา ธุรกรรมกันภายในพรมแดนหรือภายในประเทศ แต่ในสังคมอิเล็กทรอนิกส์ผู้คนพัฒนาจนสามารถ ติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์กันได้อย่างไร้พรมแดน ปัญหาทางกฎหมายที่ตามมาคือ จะนากฎหมาย ของประเทศใดมาใช้บังคับกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นโดยระหว่างที่คู่สัญญาที่อยู่คนละประเทศ และศาลของประเทศใดจะมีอานาจเหนือคดีเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เรื่องนั้น นอกจากนี้ หากมีการทาละเมิดโดยคอมพิวเตอร์หรือความผิดใดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จะฟ้องร้องได้ตาม กฎหมายของประเทศใดและที่ศาลใด ประการที่สาม ในสังคมแบบเดิมนั้นสิ่งที่จะเป็นวัตถุแห่งสัญญาเป็นทรัพย์สินหรือ วัตถุมีรูปร่างที่มีราคาและอาจถือเอาได้ แต่ในสังคมอิเล็กทรอนิกส์สิ่งที่เป็นวัตถุแห่งสัญญาได้แก่ ข้อมูล หรือทรัพย์สินทางปัญญาที่ไม่มีรูปร่าง ไม่สามารถจับต้องได้ หากแต่จะมีราคาหรือมูลค่าที่มหาศาล ปัญหาทางกฎหมายที่ตามมาคือ กฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันให้ความคุ้มครองข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ เพียงพอหรือไม่ รวมถึงการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลจะสามารถรับฟัง ได้หรือไม่ เพียงใดในสังคมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน วิ ธีที่เราสื่อสาร โต้ตอบ และทาธุรกรรมระหว่างกันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ด้วยการเพิ่มขึ้นของเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ ขณะนี้เราสามารถดาเนินธุรกิจและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับบุคคลจากทั่ว ทุกมุมโลกได้ด้วยการคลิกปุ่มเพียงปุ่มเดียว อย่างไรก็ตาม ด้วยความก้าวหน้าเหล่านี้ ทาให้เกิดความ ท้าทายทางกฎหมายมากมาย ตั้งแต่การพิจารณาว่ากฎหมายของประเทศใดที่ใช้กับธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างฝ่ายต่างๆ ในประเทศต่างๆ ไปจนถึงการปกป้องข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และ ทรัพย์สินทางปัญญา มีประเด็นที่ซับซ้อนมากมายที่ต้องได้รับการแก้ไข ในขณะที่เราสารวจภูมิทัศน์ ดิจิทัลใหม่นี้ จาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกฎหมายที่ชัดเจนและครอบคลุมเพื่อให้แน่ใจว่าธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์นั้นถูกต้อง บังคับใช้ได้ และได้รับการคุ้มครอง (สราวุธ ปิติยาศักดิ์, 2555)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3