2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ

81 2.4.3 การพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของไทย สาหรับประเทศไทยสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539 คณะรัฐมนสตรีได้มี มติเห็นชอบต่อนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ หรือ IT 2000 เพื่อที่จะได้มีการพัฒนาสังคม และได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางด้านธุรกิจอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศเป็นหนึ่งใน มาตรการสาคัญของนโยบาย ซึ่งก็คือ การปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีและสารสนเทศ ต่อมาในวันที่ 15 ธันวาคม 2541 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติดาเนิน โครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้มีการเสนอขึ้นโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่ งแวดล้อมหรือในชื่ อเดิมและได้มีการเปลี่ ยนแปลงให้เป็นศูนย์กลางการดาเนินการและ ประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ โดยที่มีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ทาหน้าที่เป็นเลขานุการของคณะกรรมการฯ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 คณะรัฐมนตรีในประเทศไทยได้มีมติที่ก้าวล ้าโดยการผ่านนโยบาย เทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ หรือที่เรียกว่า IT 2000 นโยบายนี้มีวัตถุประสงค์ไม่เพียงเพื่อพัฒนา สังคมเท่านั้น แต่ยังเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจภายในประเทศด้วย มาตรการสาคัญ ประการหนึ่งภายในนโยบายนี้คือการปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีความสาคัญอย่างยิ่ง ต่อความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศ ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2541 เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้จัดตั้งคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติเพื่อ กากับดูแลการพัฒนากฎหมายเหล่านี้ คณะกรรมการชุดนี้ซึ่งเดิมเสนอโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันทาหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ต่างๆ เช่น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และสานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ ความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการเปิดรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมนั้นเห็นได้ ชัดเจนผ่านความคิดริเริ่มเชิงกลยุทธ์เหล่านี้(ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ และคณะ, 2545) ส านักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่ งชาติ โดยศูนย์ เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) ในฐานะสานักงานเลขานุการคณะกรรมการ เทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ได้ดาเนินโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งประกอบไป ด้วยการศึกษากฎหมายและยกร่างกฎหมาย 6 ฉบับ ได้แก่ 1) กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Transactions Law) เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติ สัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทาขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ ที่จัดทาขึ้ นให้อยู่ ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้ งการลงลายมือชื่ อในข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3