2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ
83 ทางานของคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ และ การคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม 6) กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law)เพื่อที่จะได้กาหนดกลไกสาคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่ เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชาระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงิน อิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทาธุรกรรมทางการเงิน และการทาธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลมีบทบาทสาคัญในการสร้างสิทธิ์และปกป้องข้อมูล ส่วนบุคคล โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลในปัจจุบันที่ข้อมูลสามารถเผยแพร่สู่ผู้คนจานวนมากได้อย่าง ง่ายดายในระยะเวลาอันสั้น ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มีความเสี่ยงสูงต่อการใช้ข้อมูลส่วน บุคคลในทางที่ผิด ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิ์ของเจ้าของข้อมูล สิ่งสาคัญคือต้องสร้างสมดุลระหว่างสิทธิ ความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลได้รับ การปกป้อง ในทานองเดียวกัน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีความจาเป็นใน การลงโทษผู้กระทาความผิดที่สร้างความเสียหายให้กับระบบคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศ และ ระบบเครือข่าย เพื่อปกป้องความสามัคคีทางสังคมและรับประกันสิทธิและเสรีภาพ กฎหมายการโอน เงินทางอิเล็กทรอนิกส์ยังมีบทบาทสาคัญในการสนับสนุนระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์และ ระบบการชาระเงินใหม่ สร้างความเชื่อมั่นในการทาธุรกรรมทางการเงินและส่งเสริมการทาธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น กฎหมายเหล่านี้มีความสาคัญในการรักษาสภาพแวดล้อมดิจิทัลที่ปลอดภัย และเชื่อถือได้สาหรับผู้ใช้ทุกคน ดังนั้นเพื่อที่จะให้มีการบรรลุวัตถุประสงค์หลักในการดาเนินงานของโครงการพัฒนา กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศในการยกร่างกฎหมายทั้ง 6 ฉบับ คณะกรรมการจึงได้มีการแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจขึ้นมา 6 คณะ ประกอบไปด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้ง ภาครัฐและเอกชน รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาการ คอมพิวเตอร์ การเงินธนาคาร และ หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อทาหน้าที่ในการพิจารณายกร่าง กฎหมาย สาหรับการยกร่างกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เดิมได้แยกออกเป็น 2 ฉบับ เนื่องจากหลักการของ กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตราขึ้นเพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีสถานะเท่าเทียมกับข้อความที่ ปรากฏอยู่ ในรูปของกระดาษ หลักการดังกล่าวมีลักษณะเป็นกฎหมายกลางเพื่อเสริมประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพียงแต่อาจจะมีขอบเขตการบังคับใช้กว้างขวางกว่ามากเนื่องจากใช้ ครอบคลุมธุรกรรมทุกประเภทที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งกิจกรรมทางแพ่ง ทางพาณิชย์ รวมถึง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3