2566-3 -รัชวุฒิ ช่อดอก- การค้นคว้าอิสระ

88 ประการ คือ การกาหนดบทบัญญัติโดยคานึงถึง “หลักความศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนา หรือเสรีภาพ ในการแสดงเจตนา” ที่ได้กาหนดหลักเกณฑ์ให้บทบัญญัติของหมวด 1 ใน มาตรา 13 ถึง มาตรา 24 และ หมวด 2 ในมาตรา 26 ถึง มาตรา 31 เป็นบทบัญญัติที่สามารถตกลงเป็นอย่างอื่นได้ ซึ่งโดยส่วน ใหญ่จะกาหนดวิธีเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร การส่งหรือการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ประการที่สี่ สถานะหรือผลทางกฎหมายของข้อความที่ทาให้อยู่ในรูปของข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้รับรองสถานะหรือผลทางกฎหมายของข้อความที่ทาให้อยู่ ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อมิให้มีการปฏิเสธความมีผลผูกพัน และ การบังคับใช้ทางกฎหมาย ซึ่งปรากฏอยู่ในมาตรา 7 โดยเป็นการกาหนดหลักการพื้นฐานมิให้มีการเลือกปฏิบัติระหว่างสิ่งที่จัดทา ขึ้นในรูปของกระดาษทั้งในรูปของหนังสือ หลักฐานเป็นหนังสือ หรือต้นฉบับ กับสิ่งจัดทาขึ้นในรูป ของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แต่พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มิได้ กาหนดเกี่ยวกับเรื่องแบบไว้อย่างชัดแจ้ง เนื่องจากโดยหลักแล้วกฎหมายฉบับนี้มุ่งมั่นที่จะบังคับใช้ ควบคู่กับกฎหมายฉบับอื่น โดยกฎหมายฉบับใดได้กาหนดเกี่ยวกับเรื่องแบบไว้อย่างไร กฎหมาย ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ก็จะเข้าไปรองรับผลทางกฎหมายหากได้ทาโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ ถูกต้องประการที่สาม ขอบเขตของการบังคับใช้กฎหมาย พระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 กาหนดขอบเขตการใช้งานทั่วไป กล่าวคือ ใช้กับธุรกรรมทางแพ่งและพาณิชย์ทั้งหมดที่ ดาเนินการโดยใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ยกเว้นธุรกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกาห้ามใช้พระราชบัญญัติ ดังกล่าว ได้ออกเพื่ อกาหนดธุรกรรมทางแพ่งและพาณิชย์รายการใดที่ ได้รับการยกเว้นจาก พระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. พ.ศ. 2549 โดยเน้นเรื่องละเอียดอ่อน เช่น มรดก และครอบครัว พระราชบัญญัตินี้ยังยึดหลักความศักดิ์สิทธิ์ ในการแสดงเจตนารมณ์และกาหนด หลักเกณฑ์วิธีการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ รับประกันผลทางกฎหมายของข้อความที่จัดทาในรูปแบบ อิ เล็กทรอนิกส์ เพื่ อป้องกันการเลื อกปฏิบัติระหว่ างหลั กฐานที่ เป็นกระดาษและหลั กฐาน อิเล็กทรอนิกส์ แม้ว่าพระราชบัญญัติจะไม่ได้ระบุรูปแบบไว้ชัดเจน แต่ก็มีจุดมุ่งหมายให้บังคับใช้ ร่วมกับกฎหมายอื่นเพื่อสนับสนุนผลทางกฎหมายผ่านวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกต้อง ทั้งหมดหรือ บางส่วนนี้ให้ใช้บังคับและบังคับใช้กับการดาเนินงานของรัฐด้วย เพื่อให้เกิดระบบธุรกรรมทา ง อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพในประเทศไทย ประการที่ ห้า ลายมือชื่ ออิเล็กทรอนิกส์ ในเรื่ องลายมือชื่ อตามที่ ปรากฎใน พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2551 มี่ปรากฏอยู่ สองแบบ คือ ในส่วนลายมือชื่อทั่วไปนั้นตามมาตรา 9 ซึ่ งบัญญัติขึ้นเพื่อรองรับสถานะทาง กฎหมายของลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อระบุหรือยืนยันตัวบุคคล โดยวางหลักการในการ รับรองการใช้ลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้มีผลเช่นเดียวกับที่กาหนดไว้ในระบบกระดาษ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3